ไม่ว่าจะอายุน้อยหรือมากก็มีสิทธิ์ที่จะเป็น อัลไซเมอร์ กันได้ทุกคน !!
รู้หรือไม่ว่าอาการขี้หลงขี้ลืมที่คุณกำลังเป็นอยู่ไม่มากก็น้อย อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์อยู่ก็ได้ ยิ่งโดยเฉพาะในคนที่อายุยังน้อยอยู่ มักจะคิดว่าอาการขี้ลืมเล็ก ๆ น้อย ๆ จะเป็นแล้วเดี๋ยวก็หายเอง ไม่ส่งผลในระยะยาวแน่นอน แต่จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็สามารถเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ หรือคุณอาจสะสมอาการมาเรื่อย ๆ จนมาเกิดโรคนี้เมื่อเข้าสู่วัยชรา ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้และเช็คอาการของคุณกันว่าเข้าข่ายจะเป็นอัลไซเมอร์หรือไม่
อาการแบบนี้ อัลไซเมอร์ หรือไม่
อัลไซเมอร์ เป็น 1 ในสาเหตุของอาการสมองเสื่อมที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากสารหลั่งในสมองที่เกี่ยวกับความจำมีความผิดปกติ การหลั่งสารลดลงและมีการตายของเซลล์สมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลงจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย
อัลไซเมอร์ต่างจากอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ตรงที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงประคับประคองไม่ให้อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ออกกำลังกายเป็นประจำ รักษาจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด รวมถึงการออกกำลังสมองเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองและระบบประสาทไม่ให้เสื่อมเร็วกว่าเวลาอันควร
ปัจจัยที่ทำให้เป็นอัลไซเมอร์
-
- พันธุกรรม
ถ้าพ่อแม่ของคุณมียีนของโรคอัลไซเมอร์อยู่แล้ว และพวกเขายังเป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วย นั้นแปลว่าคุณมีโอกาสเสี่ยงกว่าคนทั่วไปถึง 50% ที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์
-
- อายุ
โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้มากที่สุด แต่ก็อาจพบในผู้ที่อายุน้อยกว่านั้นได้ ซึ่งมักจะมีประวัติสมองเสื่อมในครอบครัวร่วมด้วย
-
- เพศ
จากการวิจัยพบว่า เพศหญิงมีโอกาสที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าเพศชาย
มาดูสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์กันเถอะ
-
- หลงลืมในสิ่งที่เพิ่งผ่านเข้ามา ลืมวันหรือเหตุการณ์สำคัญ ต้องอาศัยสิ่งช่วยจำ เช่น สมุดจด หรือ บุคคลในครอบครัวคอยช่วยเหลือ
- ลืมของไว้ในที่ที่ไม่ควรวาง หรือไม่สามารถย้อนนึกกลับไปได้ว่าวางของไว้ที่ไหน
- รู้สึกสับสนกับเวลาหรือสถานที่ เช่น ไม่รู้วันที่ ฤดูกาล และเวลา ลืมสถานที่ที่ตัวเองอยู่หรือไม่รู้ว่าจะไปสถานที่นั้น ๆ ได้อย่างไร
- ไม่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ตามขั้นตอนได้ เช่น ลืมขั้นตอนจ่ายเงินเมื่อไปธนาคาร หรือการขับรถ
- รู้สึกยากลำบากในการทำงานที่คุ้นเคย
- ความสามารถในการตัดสินใจลดลง
- แยกตัวออกจากงานที่ทำหรือกิจกรรมที่ชื่นชอบ
- อารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่น ดูสับสน วิตกกังวล หวาดกลัว
ฝึกสมอง ต้าน อัลไซเมอร์
การฝึกสมองเพื่อป้องกันอาการอัลไซเมอร์ที่ง่ายและสามารถทำได้ในทุกวัน นั้นก็คือการบริหารสมองโดยตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา-ดู, หู-ฟัง, ลิ้น-ชิมรส, จมูก-ดมกลิ่น และมือ-สัมผัส นั้นเอง ฟังแบบนี้หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าวิธีนี้จะช่วยฝึกสมองได้อย่างไร ไปดูกันเลย
-
- ฝึกสมองผ่านการมอง
แน่นอนว่าการที่เราใช้สายตามองสิ่งของต่าง ๆ ในบ้านหรือที่ทำงานทุกวัน ร่างกายจะเกิดความเคยชิน จดจำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี ทำให้สมองไม่ได้เกิดกระบวนการคิดที่ซับซ้อนไปกว่าเดิม
แล้วเราจะฝึกสมองผ่านการมองได้อย่างไร ?
วิธีฝึกง่ายนิดเดียว เพียงแค่เพื่อน ๆ ลองจัดวางสิ่งของในบ้านให้ไม่เหมือนเดิม หรือวางในทิศทางตรงกันข้าม เช่นการวางปฏิทินกลับหัว ให้เราได้ใช้ความคิดที่ซับซ้อนขึ้นในการมองดูวันที่ หรือการเล่นเกมจับผิดภาพ ถือเป็นการใช้สายตาฝึกการสังเกตและทักษะทางความคิดได้เป็นอย่างดี ไม่น่าเบื่อแถมได้ฝึกสมองไปพร้อมกันด้วย
-
- ฝึกสมองผ่านจมูก
กลิ่นที่คุ้นเคยจากทุกกิจวัตรประจำวัน ทำให้สมองของคุณเกิดความเคยชินและจดจำกลิ่นนั้นได้ ลองฝึกสมองผ่านจมูกโดยการเปลี่ยนกลิ่นที่เคยชินเป็นกลิ่นใหม่ ๆ ที่ท้าทายความสามารถของสมองคุณดู เช่นกลิ่นของห้องนอนหรือผ้าปูที่นอน ลองเปลี่ยนน้ำยาปรับผ้านุ่มหรือเทียนหอมในห้องเป็นกลิ่นใหม่ ๆ ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน เพื่อให้สมองได้มีการเรียนรู้ใหม่ ๆ ตลอดรวมถึงเป็นการกระตุ้นต่อมความสามารถในการรับกลิ่นของสมองด้วย
-
- ฝึกสมองผ่านการทานอาหาร
การทานอาหารที่ทานเป็นประจำหรือเมนูยอดฮิตตลอดกาล ที่เพียงแค่ได้ยินชื่อก็สามารถบอกได้เลยว่าทำมาจากอะไรบ้าง ถือเป็นการสร้างความคุ้นชินให้กับสมองจนเกินไป สมองจะไม่เกิดการเรียนรู้รสชาติใหม่ ๆ ให้เพื่อน ๆ ลองท้าทายต่อมรับรสของคุณด้วยการทานอาหารที่ไม่เคยทานหรืออาหารที่มีองค์ประกอบที่ซับซ้อนกว่าอาหารปกติ แล้วลองทายส่วนผสมที่อยู่ในเมนูนั้น ๆ ดู แค่คิดก็สนุกแล้วใช่ไหม หรืออาจลองทำอาหารโดยไม่ต้องเปิดสูตรดู ใส่นั้นนิด ผสมนี่หน่อย ให้ออกมาเป็นรสชาติที่คุณชอบ ง่าย ๆ แค่นี้ก็ถือเป็นการฝึกสมองที่สนุกและสร้างสรรค์สุด ๆ
-
- ฝึกสมองผ่านการอ่านออกเสียง
เพื่อน ๆ เคยเป็นกันไหม ตอนท่องจำหนังสือ เรามักจะอ่านออกเสียงออกมาดัง ๆ เพราะเชื่อว่าจะทำให้จำได้ดีกว่าเดิม ซึ่งเรื่องนี้ก็มีส่วนที่เป็นเรื่องจริงอยู่ เพราะการเปล่งเสียงถือเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้และทักษะการจดจำ และเสียงยังเป็นการเสริมแรงให้สมองที่อ่อนล้ากลับมาตื่นตัวได้อีกด้วย นับเป็นวิธีที่ช่วยลดภาวะความถดถอยหรือความเสื่อมของสมองได้ดี
-
- ฝึกสมองผ่านการสัมผัส
การสร้างความคุ้นชินให้กับสมองอีก 1 อย่างนั้นก็คือการทำกิจวัตรประจำวันที่ถนัด เช่นการจับปากกาด้วยมือข้างที่ถนัด การจับช้อนส้อมด้วยมือข้างเดิม ลองเปลี่ยนความเคยชินเหล่านั้นด้วยการใช้มือข้างที่ไม่ถนัดมาทำกิจวัตรประจำวันแทน เป้นการกระตุ้นให้สมองทำงานอยู่ตลอดเวลา หรือจะลองบริหารนิ้วมือ ข้อพับ ด้วยการออกท่าทางต่าง ๆ กำและแบมือสลับกันไป เพราะนิ้วมือเป็นแหล่งรวมเส้นประสาทและเส้นเลือดที่เชื่อมโดยกับสมองโดยตรง วิธีนี้ถือเป็นการช่วยให้สมองได้ออกแรงควบคุมร่างกายแบบต่อเนื่อง
อัลไซเมอร์ ป้องกันได้ด้วยบีโคพลัส
นอกจากการฝึกสมองที่เราสามารถทำได้ทุกวันโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์อะไรเสริมแล้ว อีก 1 อย่างที่สามารถช่วยป้องกันและชะลอการเสื่อมของสมองได้ นั้นก็คือการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เน้นเรื่องบำรุงสมองโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการวิจัยเกี่ยวกับสารที่ส่งผลต่อระบบประสาทและสมองโดยตรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออกมาจำหน่ายมากขึ้น หาซื้อง่ายและปลอดภัยได้มาตรฐานการผลิต
อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus (บีโคพลัส) ที่ตอบโจทย์คนที่ต้องการดูแลระบบประสาท บำรุงสมองจากการทำงานหนักหรือใช้สมองหนัก รวมถึงผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอน นอนไม่หลับก็สามารถทานตัวนี้ได้ เพราะบีโคพลัสจะช่วยปรับสมดุลการนอนของคุณให้ดีขึ้น หลับลึกหลับดีกว่าที่เคย มาในรูปแบบแคปซูลที่ผลิตจากพืช อัดแน่นสารสกัดจากสมุนไพรและธรรมชาติถึง 11 ชนิด ไม่มีสารเคมีเจือปนและไม่มีส่วนผสมของยานอนหลับ เพียงวันละ 1-2 แคปซูล ก่อนนอน
สารสกัด 11 ชนิด
- พรมมิ (Bacopa monnieri)
- L-Theanine
- Tart Cherry Powder
- Ginkgo Leaf
- Lemon Balm
- Goji Berry
- Vitamin D
- Vitamin B2
- Vitamin B3
- Vitamin B5
- Vitamin B6
ประโยชน์ที่ได้รับ
- บำรุงระบบประสาทและสมอง
- ช่วยให้หลับสนิทยิ่งขึ้น หลับลึก หลับง่ายกว่าที่เคย
- ป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
- เสริมความจำ บำรุงสมองขณะนอนหลับ เพิ่มประสิทธิภาพการจดจำให้ดียิ่งขึ้น
- เสริมสร้างสมาธิ
- ผ่อนคลายความเครียด
- ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า
- ช่วยบำรุงให้ร่างการแข็งแรง
- ลดอาการปวดไมเกรน
- ลดอาการปวดข้ออักเสบ
บีโคพลัสเหมาะกับใครบ้าง
- ชาย/หญิงอายุ 12 ปีขึ้นไป และผู้สูงวัย
- ผู้ที่มองหาตัวช่วยในการนอนหลับ
- ผู้ที่ต้องการอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง และป้องกันอาการอัลไซเมอร์
- ผู้ที่ต้องการบรรเทาอาการโรคเก๊าท์และข้ออักเสบ
- ผู้ที่ต้องการลดปริมาณน้ำตาลในเลือด
- วัยเรียนใช้สมองหนัก ใช้ความจำเยอะ และต้องการนอนหลับให้เพียงพอ
- วัยทำงาน ที่ต้องทำงานหนัก เครียด นั่งหน้าจอทั้งวัน
- ผู้สูงอายุ ที่เริ่มหลง ๆ ลืม ๆ นอนหลับยาก หรือนอนหลับลึกได้น้อยลง