fbpx Skip to content

5 วิธี รับมือ เจ็ทแล็ก (Jet Lag) เที่ยวให้สุด ไม่มีสะดุดแน่นอน

วิธีรับมืออาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag)

เจ็ทแล็ก (Jet Lag) คำที่นักเดินทางมักได้ยินกันเป็นประจำเวลาต้องเดินทางไปต่างประเทศ แล้วพาลทำให้เที่ยวไม่สนุก มึน ๆ อึน ๆ ไปตลอดทริป จบทริปแบบไม่แฮบปี้เท่าที่ควร เป็นแบบนี้ทุกครั้งที่เดินทาง แล้วอาการเจ็ทแล็กมันคืออะไร และจะป้องกันอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วออกเดินทางไปรู้จักกับอาการเจ็ทแล็กกันเลย

ทำไมขึ้นเครื่องบิน หรือเดินทางไกลต้องมีอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag)

เจ็ทแล็ก (Jet Lag) คืออะไร

เวลาต้องขึ้นเครื่องบินเพื่อเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ เมื่อไปถึงจุดหมายปลายทางแล้ว เพื่อน ๆ หลายคนน่าจะเคยมีอาการนอนไม่หลับ มึนหัว อาหารไม่ย่อย หรือท้องผูกกันบ้าง ไม่ต้องตกใจกันไป เพราะอาการเหล่านี้แหละค่ะที่เรียกว่า เจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรืออาการเมาเวลา ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อเราต้องเดินทางไกลไปในประเทศที่มี Time Zone แตกต่างไปจากเดิม ร่างกายยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ ทำให้เกิดความผิดปกติบางอย่างขึ้นแบบชั่วคราว เช่น 

  • นอนไม่หลับ
  • ง่วงซึมในช่วงกลางวัน
  • ปวดศีรษะ
  • อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ

เมื่อเวลาผ่านไปอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไป หรือดีขึ้นเอง แต่กว่าจะหายก็อาจจะใช้เวลาหลายวัน จนถึงวันกลับบ้านแล้วก็ยังไม่หาย หมดสนุกทุกที วันนี้เรามี 5 วิธีรับมืออาการเจ็ทแล็กมาบอกต่อกัน เตรียมพร้อมรับมือเพื่อให้ทริปต่อไปของคุณไม่น่าเบื่อและสนุกจนไม่อยากกลับบ้านกัน

รับมืออาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) แค่ปรับที่ตัวคุณ

มาดู 5 วิธีรับมืออาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) แบบง่าย ๆ ลองทำตามกันได้เลย

    • ปรับเวลานอน ลดอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag)

5 วิธี รับมืออาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag)

การเดินทางไปประเทศที่มีช่วงเวลาต่างกันมาก ๆ กับประเทศของเรา อาจส่งผลให้เพื่อน ๆ มีอาการเจ็ทแล็กได้ง่าย ๆ เราขอแนะนำให้ลองปรับเวลาการนอนก่อนเดินทางประมาณ 1 สัปดาห์ ให้เร็วขึ้นหรือช้ากว่าปกติขึ้นอยู่กับเวลาของประเทศที่ต้องเดินทางไป เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวก่อนเดินทางจริง จะช่วยลดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หรือหงุดหงิดได้

    • ดื่มน้ำเยอะช่วยคุณได้

5 วิธี รับมืออาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag)

การเดินทางไกลด้วยเครื่องบินจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะบนเครื่องบินจะมีอากาศน้อยกว่าบนพื้นดิน และความชื้นต่ำ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย หายใจไม่คล่อง รู้สึกอ่อนเพลียและล้า และเกิดอาการเจ็ทแล็กตามมาในที่สุด การดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ จึงเป็นการช่วยเพิ่มน้ำให้ร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่น ไม่อึดอัดและหายใจได้สะดวกขึ้น และควรงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ในช่วงเวลากลางคืน เพื่อทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

    • นอนหลับบนเครื่องบิน

5 วิธี รับมืออาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag)

วิธีที่จะสู้กับอาการเจ็ทแล็กได้ดีคือการนอนค่ะ โดยเฉพาะคนที่มีไฟล์ทบินข้ามคืน เมื่อขึ้นเครื่องบินแล้ว เราขอแนะนำให้เพื่อน ๆ หาเวลานอนพักผ่อนบนเครื่องบินบ้าง และควรนอนตามช่วงเวลากลางคืนเป็นหลัก เพราะการพักผ่อนให้เพียงพอมีความสำคัญเมื่อต้องเดินทางไกล จะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าจนเกินไป

    • ออกกำลังกาย ขยับร่างกายบ้าง

5 วิธี รับมืออาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag)

การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย รู้สึกสบายตัว และทำให้นอนหลับง่ายขึ้นในเวลากลางคืนอีกด้วย เช่นเดียวกับผู้ที่กำลังจะเดินทางไปต่างประเทศ การออกกำลังกายเบา ๆ ที่ไม่หักโหมจนเกินไปก่อนเดินทาง 1 วันจะช่วยให้นอนหลับบนเครื่องบินได้ง่ายขึ้น และเมื่อเดินทางถึงประเทศนั้น ๆ ควรเน้นการเดินไปยังสถานที่ต่าง ๆ แทนการนั่งรถนาน ๆ ได้ออกแรงบ้าง จะช่วยให้คุณนอนหลับในตอนกลางคืนได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

    • ทานเมลาโทนิน (Melatonin)

เมลาโทนิน ช่วยนอนหลับ

เมลาโทนิน (Melatonin) คือฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการนอนหลับและการตื่น ซึ่งโดยปกติสมองจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินออกมาในเวลากลางคืน ทำให้ร่างกายรู้สึกง่วงซึม และเมลาโทนินจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงที่มีแสงสว่างหรือในช่วงเช้า เพื่อให้ร่างกายตื่นตัวนั้นเอง ซึ่งในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับบางรายอาจหันไปพึ่งการทานเมลาโทนินเพื่อช่วยให้นอนหลับ โดยในปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของเมลาโทนินอยู่หลากหลายให้เลือกซื้อทานกัน

ส่วนผู้ที่ต้องเดินทางไกลและกังวลว่าจะเกิดอาการเจ็ทแล็ก การทานเมลาโทนินจะเป็นการช่วยปรับเวลาการนอนให้เข้ากับสถานที่นั้น ๆ ได้ โดยเราแนะนำให้ผู้ที่ต้องการทานเมลาโทนินปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนทานทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยและป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

เรื่องนอนจะไม่ยากอีกต่อไป มาปรับสมดุลการนอนด้วยบีโคพลัส (Becoplus)

ปกติแล้วอาการเจ็ทแล็กมักเกิดขึ้น 2-3 วันหลังจากที่เราเดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว จากนั้นร่างกายจะเริ่มปรับตัวได้เอง แต่หากใครที่ยังมีอาการเจ็ทแล็กนานเกินกว่านั้น การมองหาตัวช่วยที่ช่วยให้นอนหลับจึงเป็นอีก 1 ทางเลือกที่ดีให้กับทุกคน แต่การใช้ยานอนหลับอาจจะเป็นอันตรายและต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เป็นหลัก จะดีกว่าไหมถ้าตัวช่วยที่ว่านี้จะปลอดภัยและเป็นสารสกัดจากสมุนไพรล้วนแทน วันนี้เรามีไอเทมเด็ดที่ช่วยเรื่องการนอนหลับและบำรุงสมองมาบอกต่อกัน

บีโคพลัส ช่วยเรื่องการนอนหลับ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบีโคพลัส (Becoplus) ตัวช่วยดี ๆ ที่เราอยากบอกต่อ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ อยากปรับสมดุลการนอนของตัวเอง มีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ชอบตื่นกลางดึกและไม่สามารถกลับไปนอนต่อได้ รวมถึงผู้ที่ทำงานหนัก ใช้สมองเยอะ มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ สมองล้า คิดงานไม่ออก บีโคพลัสช่วยคุณได้ เพราะใน 1 แคปซูลเราได้รวมเอาสารสกัดจากสมุนไพรและธรรมชาติมากถึง 11 ชนิด อย่างเช่น พรมมิ เก๋ากี้ ใบแปะก๊วย รวมถึงทาร์ตเชอรี่ซึ่งเป็นแหล่งของสารเมลาโทนินจากธรรมชาติ

บีโคพลัสไม่ใช่ยานอนหลับ ไม่มีสารเคมีเจือปน แต่เป็นตัวช่วยเพื่อปรับสมดุลการนอน และบำรุงสมอง ช่วยผ่อนคลายความเครียดและความกังวลต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของโรคซึมเศร้า และช่วยป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงวัย อยากรู้จักเรามากกว่านี้ คลิกเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

สินค้าล่าสุด

thThai