ความเครียดสะสมจากการเรียนและการทำงาน ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท และถ้าพูดถึงปัญหาที่วัยรุ่นหรือคนวัยทำงานในปัจจุบันต้องเจอ แน่นอนว่า ปวดหัวไมเกรน จะต้องเป็น 1 ในคำตอบของใครหลาย ๆ คนอย่างแน่นอน
เพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังสงสัยอยู่ว่า อาการปวดหัวที่เป็นอยู่จะเป็นเพียงการปวดหัวธรรมดาทั่วไป หรือเป็นอาการของไมเกรนกันแน่ มาลองหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้ได้เลยค่ะ
ปวดหัวธรรมดาหรือ ปวดหัวไมเกรน กันแน่
เคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าอาการปวดหัวที่เราเป็น ๆ หาย ๆ อยู่นั้น ความจริงมันคืออาการปวดหัวธรรมดาทั่วไป หรือคืออาการของคนที่เป็นไมเกรนกันแน่ มาทำความรู้จักกับอาการปวดหัวแต่ละแบบกันก่อนดีกว่าค่ะ
ถ้าคุณมีอาการ เช่น ปวดบีบ รัด ตึง บริเวณขมับทั้ง 2 ข้าง หรือปวดข้างใดข้างหนึ่งมากกว่า อาจมีการปวดร้าวลงมาที่บริเวณท้ายทอย หน้าผากหรือกระบอกตา และเมื่อทานยาแก้ปวดก็สามารถบรรเทาอาการให้เบาบางลงได้ นั้นแปลว่าคุณปวดหัวธรรมดา ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด การใช้สายตามากเกินไปหรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ
แต่สำหรับ ปวดหัวไมเกรน (Migraine) จะเป็นความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหัวตุ๊บ ๆ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง จากการที่ก้านสมองถูกกระตุ้น โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และพบมากในช่วงวัยรุ่นมากกว่าผู้สูงวัย
โดยอาการของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ดังนี้
-
- ปวดหัวตุ๊บ ๆ บริเวณขมับจนถึงบริเวณกระบอกตาหรือท้ายทอย อาจปวดหัวข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง
- มีอาการปวดหัวในระดับกลางถึงมาก ติดต่อกัน 2-4 ชั่วโมง หรือในบางรายอาจเป็นติดต่อกัน 2-3 วัน
- คลื่นไส้อาเจียน
- มีอาการแพ้แสง
- มีอาการเห็นแสงไฟสีขาว ๆ มีขอบหยึกหยัก เป็นสัญญาณเตือนก่อนที่จะเริ่มปวดหัว
ปัจจัยอะไรบ้างที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรน
ปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดว่าสาเหตุที่ทำให้คุณปวดหัวไมเกรนคืออะไรกันแน่ แต่ปัจจัยเบื้องต้นที่สามารถกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้นั้นมีหลายอย่าง จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
-
- ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการอดนอน
- สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น อยู่ในที่ ๆ มีแสงแดดจ้าหรือเจอแสงแฟลชมากเกินไป สถานที่ที่มีเสียงดัง มีกลิ่นที่รุนแรง หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศแบบฉับพลัน ร้อน ฝนหรือหนาวทันที
- การออกกำลังกายที่หนักเกินไป
- การสูบบุหรี่จัด
- ออฟฟิศซินโดรม
- การรับประทานอาหารบางชนิดที่กระตุ้นการเกิดไมเกรน เช่น ชีส แอลกอฮอล์ ผงชูรส และคาเฟอีน
- ช่วงมีประจำเดือนของเพศหญิง
- ช่วงเวลาหลังจากคลอดบุตร
ปวดหัวไมเกรน รักษาอย่างไร
ใครที่มีอาการปวดหัวไมเกรน และกำลังลังเลอยู่ว่าจะไปรักษาดีหรือไม่ ถึงแม้ว่าไมเกรนจะไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกายมาก แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย ทางทีดีควรหาวิธีรักษาหรือเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงมากจนเกินไป
มาดูวิธีรักษาเบื้องต้นที่เรานำมาฝากกัน
-
- ทานยาป้องกันไมเกรนภายใต้การดูแลของแพทย์ เช่น กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า กลุ่มยากันชัก และกลุ่มยาลดความดัน เป็นต้น
- ทำกิจกรรมที่ชอบหรือช่วยให้ผ่อนคลาย
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรน
- ประคบเย็นบริเวณศีรษะ
- ปรับพฤติกรรมการนอน และการรับประทานอาหาร
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
บรรเทาอาการไมเกรน ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร
เมื่อเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดไมเกรนแล้ว แต่ก็อย่านิ่งนอนใจไปนะเพื่อน ๆ เพราะสภาพแวดล้อมหรือการใช้ชีวิตในปัจจุบันมักทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย ๆ ทั้งการเรียนและการทำงาน อาจทำให้เกิดอาการเครียดแบบไม่รู้ตัว การทานยาเพื่อลดความเครียด ก็เป็น 1 ในวิธีที่ใครหลาย ๆ คนทำกัน แต่จะดีกว่าไหมถ้าสิ่งที่นำเข้าร่างกายของเพื่อน ๆ เป็นสมุนไพรแทนสารเคมี อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบีโคพลัส (Becoplus) ที่สกัดจากธรรมชาติและสมุนไพรล้วน มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เสริมความจำ เพิ่มสมาธิ มีสารที่ช่วยคลายความเครียดและความกังวล ส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น หลับลึก หลับสนิทกว่าที่เคย เพียงวันละ 1-2 แคปซูล ก่อนนอน
- ประโยชน์ที่ได้รับ
- บำรุงระบบประสาทและสมอง
- ช่วยให้หลับสนิทยิ่งขึ้น หลับลึก หลับง่ายกว่าที่เคย
- ป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
- เสริมความจำ บำรุงสมองขณะนอนหลับ เพิ่มประสิทธิภาพการจดจำให้ดียิ่งขึ้น
- เสริมสร้างสมาธิ
- ผ่อนคลายความเครียด
- ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า
- ช่วยบำรุงให้ร่างการแข็งแรง
- ลดอาการปวดไมเกรน
- ลดอาการปวดข้ออักเสบ
- บีโคพลัสเหมาะสำหรับ
- ชาย/หญิง 12 ปีขึ้นไป และผู้สูงวัย
- ผู้ที่มองหาตัวช่วยในการนอนหลับและป้องกันอาการอัลไซเมอร์
- ผู้ที่ต้องการอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง
- ผู้ที่ต้องการบรรเทาอาการโรคเก๊าท์และข้ออักเสบ
- ผู้ที่ต้องการลดปริมาณน้ำตาลในเลือด
- วัยเรียนใช้สมองหนัก ใช้ความจำเยอะ และต้องการนอนหลับให้เพียงพอ
- วัยทำงาน ที่ต้องทำงานหนัก เครียด นั่งหน้าจอทั้งวัน
- ผู้สูงอายุ ที่เริ่มหลงๆลืมๆ นอนหลับยาก นอนหลับลึกได้น้อยลง