กลางวันง่วง พอตกกลางคืนกลับไม่อยากนอนซะงั้น ไหนใครมีอาการแบบนี้บ้าง หลายคนชอบทำงานในเวลากลางคืนเพราะรู้สึกว่าสมองลื่นไหล มีสมาธิในการทำงาน แต่หารู้ไม่ว่าการมีพฤติกรรมแบบนี้จะทำให้ร่างกายของคุณแย่เอาได้ และเสี่ยงกับการเป็น “โรคร่าเริง” (Lychnobite) ซึ่งโรคนี้จะก่อให้เกิดโรคที่ตามมาอีกหลายโรคเลยหล่ะ
โรคร่าเริง (Lychnobite) คืออะไร ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
โรคร่าเริง (Lychnobite) คือโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตแบบขาดบาลานซ์ ส่งผลให้นาฬิกาชีวิตผิดเพี้ยน เช้าโรยแรง กลางคืนคึกคัก พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ที่เกิดจากการอดหลับอดนอนจนชิน มักเกิดกับคนที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำต่อเนื่องกันหลายวัน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หากอดนอนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือทำบ่อย ๆ จนเกิดภาวะสะสม ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายจะแปรปรวนและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เช่น
-
- การอดนอนเป็นสาเหตุทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ โดยเฉพาะโกรทฮอร์โมน ฮอร์โมนตัวสำคัญที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟู ควบคุมความเครียด และช่วยเผาผลาญอาหาร ที่จะหลั่งออกมาช่วยฟื้นฟูร่างกายและซ่อมแซมส่วนสึกหรอในช่วงเวลา 22.00-02.00 น. แต่หากไม่ยอมนอนในช่วงนั้นโกรทฮอร์โมนไม่หลั่งตามที่ควรจะเป็น ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป เช่น ผิวพรรณไม่สดใส การเผาผลาญน้อยลง ทำให้อยากทานของหวานมากขึ้น เมื่อทานเข้าไปก็จะสะสมกลายเป็นโรคอ้วนตามมา
- ลำไส้ทำงานผิดปกติ เพราะเมื่อนอนและตื่นไม่เป็นเวลามักจะตามมาด้วยการทานอาหารไม่ตรงเวลา โดยเฉพาะมื้อเช้าที่ควรทานในช่วงลำไส้กำลังทำงาน ประมาณ 05.00 น. – 07.00 น. อาหารเช้าและน้ำจะกระตุ้นการขับถ่ายช่วยให้ลำไส้ทำงานปกติ แต่หากทานไม่ตรงเวลาเลยช่วงที่ลำไส้ทำงานไปแล้ว จะส่งผลให้ระบบขับถ่ายแปรปรวน ท้องผูกง่าย เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้
- รอบเดือนมาไม่ปกติ เพราะความสมดุลฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป
- รู้สึกง่วงตลอดทั้งวัน แทบไม่อยากทำอะไร ตื่นเช้าไม่เคยไหว
- อาจกลายเป็นคนติดคาเฟอีน เพราะต้องดื่มตลอดเพื่อให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า หากไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ก็จะง่วงซึม อ่อนเพลีย ปวดหัว และไม่มีแรง การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากๆ ยังเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดในสมองตีบได้
พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เป็น โรคร่าเริง (Lychnobite)
พฤติกรรมแบบนี้แหละที่เสี่ยงให้เกิดโรคร่าเริง
-
- นอนดึกหรือนอนเช้า คนที่เป็นโรคร่าเริงมักจะนอนดึกหรืออาจจะนอนเช้าเลยทีเดียว เพราะสมองถูกกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัวด้วยแสงสีฟ้าที่ถูกส่งออกมาจากหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ ทางที่ดีควรปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอนประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพและหลับสนิทได้เร็วขึ้น
- ตื่นสายและง่วงในตอนกลางวันจากการนอนดึก เมื่อคุณนอนดึกก็ไม่แปลกที่ต้องตื่นสาย ซึ่งการตื่นสายนอกจากทำให้ร่างกายไม่สดชื่นเท่าที่ควรแล้ว ยังเป็นเหตุให้คุณต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ทั้งรีบไปโรงเรียนหรือไปทำงาน ทำให้อดทานข้าวเช้า เป็นเหตุให้มีอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะแทรกซ้อนขึ้นมาได้
- มีสมาธิในช่วงกลางคืน ถ้าหากสุ่มเสี่ยงเป็นโรคร่าเริง แน่นอนว่าในช่วงกลางคืนเราจะมีสมาธิดีกว่าปกติ แต่ส่งผลเสียต่อสมอง เพราะในร่างกายของคนเรานั้นมีนาฬิกาชีวิต หากใช้เวลาทำกิจกรรมแต่ละอย่างไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้ร่างกายสึกหรอมากกว่าปกติ โดยทั่วไปเราควรนอนหลับในช่วง 22.00-6.00 เพราะร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนออกมา เพื่อเผาพลาญอาหารและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าไม่นอนในเวลาดังกล่าว มีสิทธิ์ที่จะเป็นโรคอ้วนอีกทั้งร่างกายจะอ่อนเพลียกว่าปกติด้วย
ปรับพฤติกรรมก่อนสาย ไม่ให้กลายเป็น โรคร่าเริง (Lychnobite)
แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็อาจทำให้ลดความเสี่ยงการเป็นโรคร่าเริงได้
-
- ปรับเวลานอนใหม่
จากเดิมที่เคยนอนดึกลองเปลี่ยนเวลานอนใหม่ ด้วยการเข้านอนตั้งแต่ช่วงเวลา 22.00 น. เนื่องจากช่วงเวลา 22.00-02.00 น. เป็นช่วงที่โกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในขณะที่เราหลับ เพื่อฟื้นฟูร่างกาย - ปรับนิสัยการทานอาหาร
ปรับเรื่องอาหารการกินให้เข้าที่เข้าทาง พยายามทานโปรตีนให้มาก และลดคาร์โบไฮเดรต เพราะการทานแป้งและน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้ง่วงนอน แต่การทานโปรตีนจะช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย เพียงเท่านี้จะช่วยให้ร่างกายมีความตื่นตัวมากขึ้นในช่วงกลางวัน และนอนหลับได้อย่างสบายในช่วงกลางคืน - ดื่มน้ำเปล่า
ควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว เพื่อให้สมองแล่น และเติมความสดชื่นให้ร่างกาย ที่สำคัญ น้ำยังเป็นตัวลดความหนืดของเลือด ทำให้ไม่รู้สึกง่วงนอน - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัวที่ควรทำ เพราะการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ยังช่วยเรื่องระบบไหลเวียนของโลหิต ให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น ทำให้เรามีแรง กระปรี้กระเปร่า ตื่นตัว ไม่อ่อนเพลียง่าย พร้อมสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในตอนกลางวัน และยังช่วยให้นอนหลับสบายในตอนกลางคืนอีกด้วย - ใช้ชีวิตให้เป็นเวลา
หากว่าไม่สามารถตื่นนอนเองได้ให้ตั้งนาฬิกาปลุกแทน เพื่อให้ตื่นได้เป็นเวลา เมื่อร่างกายของคุณเริ่มชินกับเวลาที่ต้องตื่นเป็นประจำ หลังจากนั้นอาจไม่ต้องพึ่งพานาฬิกาปลุกอีกต่อไป - เปิดเพลงฟัง
อีกหนึ่งอย่างวิธีที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวได้นั่นก็คือ ‘เสียงเพลง’ ในช่วงกลางวัน อาจหาเวลาพักเปิดเพลงฟังซักแป๊บเพื่อกระตุ้นสมองให้ตื่นตัวและคลายความเครียด หรือใครที่ทำงานแบบไม่ต้องใช้สมาธิมาก อาจเปิดเพลงคลอไปเบาๆ ระหว่างทำงานด้วยก็ได้เช่นกัน
- ปรับเวลานอนใหม่
ปรับสมดุลการนอนเพื่อป้องกันโรคร่าเริง (Lychnobite) ด้วย Becoplus
“โรคร่าเริง” ฟังชื่อแล้วอาจดูไม่น่ากลัว แต่ก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายมากมาย มาเริ่มปรับสมดุลการนอนใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus (บีโคพลัส) ที่ช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพยิ่งขึ้น ด้วยสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติล้วน ๆ กว่า 11 ชนิด ไม่มีสารเคมีเจือปน ได้รับมาตรฐาน อย. จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัย ทานได้ต่อเนื่อง ช่วยให้คุณผ่อนคลาย หลับได้ง่ายขึ้น ลึกขึ้น และหลับสนิทตลอดคืน ตื่นเช้าได้อย่างสดใส
-
- Bacopa ออแกนิคจากประเทศญี่ปุ่น ช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำ ลดการเกิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุบำรุงกำลัง และหัวใจ แถมยังช่วยให้หลับสนิท
- เชอร์รี่ทาร์ต ที่เป็นแหล่งสารเมลาโทนิน ช่วยให้นอนหลับสนิทมากขึ้น
- L-Theanine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจากชาเขียว ช่วยลดสภาวะเครียด ผ่อนคลายร่างกาย และช่วยเพิ่มสมาธิ
- วิตามินบี 2 3 5 6
- โกจิเบอร์รี่ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และยังช่วยบำรุงสายตา
Becoplus ช่วยให้คุณหลับได้เต็มอิ่ม และหลับลึกกว่าที่เคย เมื่อร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ สุขภาพที่ดีก็จะตามมา 💪