หากพูดถึง โรคที่เกี่ยวกับสมอง หลายคนจะนึกถึงแค่โรคอัลไซเมอร์ หรือความจำเสื่อมเท่านั้น แต่ความจริงแล้วยังมีโรคเกี่ยวกับสมองอีกหลายโรคที่อันตราย จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่รวดเร็ว เพราะโรคร้ายบางโรคอาจนำไปสู่ความผิดปกติอื่น ๆ ในร่างกาย หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้
เพราะสมองเป็นส่วนที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมและสั่งการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย หากเกิดความผิดปกติกับสมองขึ้น ก็จะทำให้ระบบภายในร่างกายรวน ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติแบบที่ควรจะเป็น เรามาลองทำความรู้จักกับ 5 โรคที่เกิดขึ้นที่สมอง อาการจะเป็นอย่างไร และมีวิธีป้องกันได้หรือไม่ ติดตามได้ในบทความนี้ค่ะ
5 โรคที่เกี่ยวกับสมอง
- โรคไมเกรน
สาเหตุของโรคไมเกรน เกิดจากหลอดเลือดในสมองขยายตัวและความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยปกติแล้วจะมีอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดตุบ ๆ เป็นจังหวะ ช่วงแรก ๆ จะปวดเพียงเล็กน้อย เป็น ๆ หาย ๆ แต่อาการปวดหัวจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง และไวต่อแสง ซึ่งแตกต่างจากอาการปวดหัวทั่ว ๆ ไป
อาการของโรคไมเกรนสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
-
- 24 ชั่วโมงก่อนมีอาการ
- อยากอาหาร
- อารมณ์เปลี่ยนแปลง
- ควบคุมการหาวไม่ได้
- ปัสสาวะบ่อย
-
- 20-40 นาทีก่อนหรือระหว่างปวดศีรษะ
- เห็นแสงสว่างจ้า หรือเส้นเป็นซิกแซก
- อาการอ่อนแรง
-
- ระยะปวดศีรษะ
- นาน 4 -24 ชม.
- อาการปวดหัวจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
-
- ระยะหลังมีอาการ
- จะมีอาการอยู่ได้เป็นวัน
- รู้สึกหมดแรง อ่อนแรง และบางรายอาจเกิดอาการสับสนร่วมด้วย
วิธีป้องกัน และการรักษา
-
- ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือช่วยให้ผ่อนคลาย
- ปรับพฤติกรรมการนอน พักผ่อนให้เพียงพอ นอนอย่างมีคุณภาพ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หาตัวช่วยคลายความกังวล ความเครียด ลดอาการปวดหัว
- ประคบเย็นบริเวณศีรษะ
- ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษา และทานยาอย่างถูกวิธี
โรคที่มักพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เป็น 1 ในสาเหตุของอาการสมองเสื่อมที่พบได้บ่อย เกิดจากสารหลั่งในสมองที่เกี่ยวกับความจำมีความผิดปกติ การหลั่งสารลดลงและมีการตายของเซลล์สมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยด้านความคิด ความจำ และการตัดสินใจ เป็นต้น
อาการของอัลไซเมอร์สามารถแบ่งได้คร่าว ๆ 3 ระยะ ดังนี้
-
- ระยะเริ่มต้น
สูญเสียความทรงจำระยะสั้น ไม่สามารถจำอะไรใหม่ ๆ หรือเริ่มจำเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้
-
- ระยะกลาง
เริ่มเห็นภาพหลอน หูแว่ว มีพฤติกรรมก้าวร้าว ความทรงจำเริ่มแย่ลงกว่าเดิม เช่น จำทางกลับบ้านไม่ได้ ระยะนี้ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่เพียงลำพัง
-
- ระยะสุดท้าย
สมองจะถูกทำลายจนไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้ อาจทำให้เสียชีวิตในที่สุด
อัลไซเมอร์ต่างจากอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ตรงที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงประคับประคองไม่ให้อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ออกกำลังกายเป็นประจำ รักษาจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด รวมถึงการออกกำลังสมองเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองและระบบประสาทไม่ให้เสื่อมเร็วกว่าเวลาอันควร
- โรคพาร์กินสัน
เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมองเช่นเดียวกับโรคอัลไซเมอร์ มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โรคพาร์กินสันเกิดจากการตายของเซลล์สมองที่มีหน้าที่ผลิตสารที่ชื่อว่าโดพามีน (Dopamine) ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อโดพามีนในร่างกายลดลง ทำให้ควบคุมกล้ามเนื้อได้ยากขึ้น ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการสั่นที่มือ แขน ขา เดินลำบาก เคลื่อนไหว และขยับตัวได้ช้าลง และอาจมีอาการร่วมอื่น ๆ ได้ ดังนี้
-
- ซึมเศร้า วิตกกังวล
- นอนไม่หลับ
- สูญเสียความทรงจำบางส่วน
- พูดช้า เคี้ยวหรือกลืนยาก
- ควบคุมปัสสาวะไม่อยู่
- ชา และปวดกล้ามเนื้อ
ปัจจุบันยังไม่มีการป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้ การรักษาหลัก ๆ คือการให้ยาเพิ่มปริมาณโดพามีน และเสริมโดพามีนร่วมกับยารักษาอาการร่วมอื่น ๆ และแนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย ขยับตัว จะช่วยเรื่องของการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้
- โรคหลอดเลือดสมอง
เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงักลง สมองจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการที่แสดงออกมา จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย อาการหลัก ๆ เช่น
-
- ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า แขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
- พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก กลืนลำบาก
- ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก ในบางรายอาจทำให้ตาบอดข้างเดียวได้
- ทรงตัวลำบาก
ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีการเหล่านี้ หรือมีความสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาอย่างเร่งด่วนที่สุด เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- โรคลมชัก
เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ซึ่งในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่หลัก ๆ สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น เส้นเลือดสมองผิดปกติ พันธุกรรมพยาธิในสมอง สมองได้รับความกระทบกระเทือน หรือมีเนื้องอกสมอง เป็นต้น
โรคลมชักจะแบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
-
- แบบที่เกิดขึ้นกับทุกส่วนของสมอง จะเกิดการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยจะหมดสติ ตาเหลือก กัดฟัน และอาจหยุดหายใจชั่วคราวได้ ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น และผู้ป่วยจะฟื้นพร้อมกับอาการอ่อนเพลีย และปวดหัว
- เกิดขึ้นเพียงส่วนหนึ่งของสมองเท่านั้น จะเกิดการชักที่บริเวณใบหน้า แขน หรือขา จะไม่ได้มีอาการชักทั้งตัวให้เห็น จะดูเหมือนคนเหม่อลอย และจำเหตุการณ์ช่วงที่ชักไม่ได้ อาการแบบนี้อาจนำไปสู่การชักทั้งตัวได้
เพิ่มคุณภาพการนอน คลายความเครียดและความกังวลต้นเหตุของ โรคที่เกี่ยวกับสมอง ด้วยสมุนไพร
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบีโคพลัส (Becoplus) สกัดจากสมุนไพรและสารจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีเจือปน ช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำ เพิ่มสมาธิ และยังป้องกันอาการหลงลืมที่จะนำไปสู่การเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ ช่วยคลายความกังวล ลดความเครียดต้นเหตุของโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ ช่วยปรับสมดุลการนอนหลับ ทำให้หลับลึก หลับดีกว่าที่เคย