เคยได้ยินมานานเรื่อง “โกรทฮอร์โมน” แต่บางคนอาจยังไม่รู้ว่าถึงจะโตแล้วร่างกายก็ยังต้องการโกรทฮอร์โมนอยู่นะ เพราะเจ้าโกรทฮอร์โมนเนี่ยเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายของเรา และยังช่วยให้เราดูอ่อนเยาว์อีกด้วย วันนี้ Becoplus (บีโคพลัส) จะพามาทำความรู้จักกันให้มากขึ้นว่าทำไมโกรทฮอร์โมนจึงมีผลต่อสุขภาพ
มาทำความรู้จัก “โกรทฮอร์โมน” (Growth Hormone)
โกรทฮอร์โมนคือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย การสร้างเซลล์ใหม่ การทำงานของระบบสมอง การทำงานของเอนไซม์ และกระตุ้นให้เกิดการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต
ทำไม “โกรทฮอร์โมน” (Growth Hormone) จึงมีความสำคัญกับร่างกาย
โกรทฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนที่สำคัญโดยเฉพาะในวัยเด็ก เพราะช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตของกระดูกและร่างกายมากกว่าวัยไหน ๆ จนไปถึงช่วงอายุ 25 ปี ซึ่งหากร่างกายได้รับโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ที่เหมาะสมก็จะทำให้คนคนนั้นมีรูปร่างที่สมส่วน เติบโตสมวัย มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ภูมิต้านทานดี ช่วยในเรื่องของพัฒนาการทางสมอง และช่วยคงความหนุ่มสาว
ซึ่งโกรทฮอร์โมนนั้นจะหลั่งออกมาไม่เท่ากันในแต่ละช่วงอายุ ช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโตหรือวัยเจริญพันธุ์จะมีการหลั่งในมากกว่าช่วงวัยอื่น และเมื่อพ้นวัย 30 ปีไปแล้วก็จะเริ่มลดน้อยลง หรือบางรายอาจจะไม่มีการหลั่งของโกรทฮอร์โมนออกมาเลยก็ได้ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะลดลง อ่อนแอลง และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ
หน้าที่ของ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)
- ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
- ควบคุมการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
- ดูแลเรื่องการสร้างเซลล์ใหม่ให้กับอวัยวะต่างๆ เมื่อสึกหรอและต้องการซ่อมแซมให้ฟื้นฟูกลับมาทำงานได้เหมือนปกติ
- ดูแลการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน ทำให้กระดูกเจริญเติบโตได้ตามปกติ
- ควบคุมการทำงานของระบบสมอง และเสริมสร้างพัฒนาการของเซลล์สมอง
- ควบคุมการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)
- ช่วยลดไขมันและช่วยลดน้ำหนัก ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
- ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์
- มีผลคล้ายยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) และไม่มีผลข้างเคียง ช่วยลดความเครียด มีสมาธิมากขึ้น ฟื้นฟูความจำ และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
- ช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมกล้ามเนื้อ และเพิ่มความคงทนในการออกกำลังกาย
- ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว ช่วยให้ผิวเรียบเนียนขึ้นเหมือนดังผิวของคนหนุ่มสาว ทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดรอยเหี่ยวย่นบนผิวหน้าและตามร่างกาย ลดรอยตีนกา ช่วยฟื้นฟูให้กลับมาหนุ่มสาว
- มีผลช่วยต้านภาวะกระดูกพรุน และช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
- ช่วยกระตุ้นการสูบฉีดเลือดของหัวใจ (Cardiac output) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ออกกำลังกายได้มากขึ้น ลดภาวะความดันโลหิตสูง ปรับสมดุลของคอเลสเตอรอล ช่วยบรรเทาอาการของโรคหัวใจ
- ช่วยให้การหายของบาดแผลเร็วขึ้น เพราะไปช่วยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์คอลลาเจนซึ่งเป็นสารที่ช่วยฟื้นฟูบาดแผลสร้างเนื้อเยื่อให้ประสานกัน ทำให้เนื้อเยื่อจะแข็งแรงขึ้น ผิวหนังยืดหยุ่นได้ดีช่วยทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งฟื้นฟูการยึดติดของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหัก ในผู้ป่วยบาดแผลจากไฟไหม้ขั้นรุนแรงและแผลจากการผ่าตัดได้ผลดี แผลหายเร็วขึ้น
เมื่อโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ลดน้อยลงจะเป็นอย่างไร
-
- ผมเริ่มหงอก ร่วง หรือผมบางจนเกือบล้าน
- อาจเกิดการสูญเสียความทรงจำระยะสั้นและระยะยาวไป
- ผิวหนังจะขาดความยืดหยุ่น ไม่ชุ่มชื้น ผิวแห้งมีริ้วรอย
- เริ่มมีปัญหาสายตายาว อ่านหนังสือใกล้ ๆ จะโฟกัสไม่ได้ และเมื่ออายุเพิ่มขึ้นจะมีอาการสายตาจะฝ้าฟางขึ้นเรื่อย ๆ
- ระบบการเผาผลาญ การได้ยิน ความจำ กล้ามเนื้อ ฮอร์โมนต่าง ๆ เสื่อมถอยลงไป
ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการหลั่งโกรทฮอร์โมน เช่น เรื่องของอาหารการกิน ความเครียด การพักผ่อนนอนหลับ การออกกำลังกาย รวมถึงน้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ส่งผลต่อโกรทฮอร์โมนเช่นกัน
การรักษาโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)
-
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย ๆ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
- นอนในช่วงเวลา 22.00 น. – 05.00 น ซึ่งเป็นช่วงที่โกรท์ฮอร์โมนทำงาน
- ลดการทานอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และแป้งเยอะ รวมทั้งเลิกพฤติกรรมการทานอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารแช่แข็ง
- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5-6 วัน วันละ 30 นาที
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่
- ไม่ควรซื้อยาทานเอง หากมีอาการเจ็บป่วยให้ปรึกษาแพทย์เพราะยาเหล่านั้นคือเคมีที่จะเข้าไปทำลายตับและไตของเรา
- หลีกเลี่ยงความเครียด และทำให้ตัวเองผ่อนคลายอยู่เสมอ จะช่วยให้โกรทฮอร์โมนทำงานได้ดีขึ้น
เพิ่มโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ด้วยการนอนที่ดี
ช่วงที่ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมามากที่สุดคือประมาณเที่ยงคืน-ตี 1 และต้องเป็นช่วงที่หลับลึกแล้วเท่านั้น ซึ่งร่ายการจะเริ่มเข้าสู่ภาวะหลับลึกหลังหลับไปแล้วประมาณ 1 ชม.ดังนั้นจึงควรเข้านอนไม่เกิน 5 ทุ่ม เพื่อให้พอดีกับช่วงที่ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมน
และเสริมการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้นด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus (บีโคพลัส) ที่ช่วยปรับสมดุลการนอน ทำให้นอนหลับได้สนิทและหลับได้ลึกขึ้น ส่งเสริมให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนน้อยลง
Becoplus ตัวช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับเต็มอิ่มและตื่นอย่างสดชื่น
- Bacopa monnieri (พรมมิ) – บำรุงสมองและความจำ
- Vitmin B6 – ดีต่อระบบประสาทและเส้นเลือด
- Vintamin B12 – ช่วยบำรุงประสาท เพิ่มสมาธิ
- L-theanine จากชาเชียว – ช่วยคลายเครียดและช่วยเรื่องนอนหลับ