fbpx Skip to content

เครียดไม่รู้ตัว เครียดสะสม คุณกำลังมีอาการแบบนี้อยู่หรือไม่

เครียดไม่รู้ตัว

ด้วยความกดดันจากการทำงาน ความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจ ทำให้หลายคนเกิดความวิตกกังวล ความกดดัน ความไม่สบายใจ จนอาจส่งผลให้เกิดเป็นภาวะ เครียดไม่รู้ตัว ได้ จะต้องรับมืออย่างไรติดตามได้ในบทความนี้

คนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตท่ามกลางความเร่งรีบ กดดัน ทำให้ความเครียดถูกสะสมโดยไม่รู้ตัว นำไปสู่ความเจ็บป่วยทางใจและทางกาย โดยแต่ละคนจะมีการรับมือกับความเครียดที่แตกต่างกันและมีการตอบสนองต่อความเครียดที่แตกต่างกัน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการมีความเครียดสะสม เรามาเช็กกันหน่อยว่าคุณมีภาวะเครียดไม่รู้ตัวหรือไม่

เครียดไม่รู้ตัว

สัญญาณของภาวะ เครียดไม่รู้ตัว

  1. มีปัญหาเรื่องการนอน เช่น นอนไม่หลับ นอนไม่อิ่ม นอนหลับไม่สนิท ตื่นเร็วเกินไป หรือ ตื่นกลางดึก และหลับต่อได้ยาก
  2. พฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูด เบื่อหน่ายชีวิต รู้สึกกังวล หรือหงุดหงิดง่าย รวมไปถึงอารมณ์ทางเพศลดลง
  3. ร่ายกายผิดปกติ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก หายใจถี่ ๆ หัวใจเต็นเร็ว เหงื่อออกมากผิดปกติ ปวดหัว ปวดเมื่อยร่างกาย ระบบการย่อยอาหารและการขับถ่ายแปรปรวนโดยที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้
  4. แยกตัวออกจากสังคม ไม่อยากพบปะผู้อื่น หรือเกิดความอึดอัดเป็นอย่างมาก เมื่อต้องพบปะผู้อื่นมากเกินกว่าที่เคยเป็น
  5. ความสามารถในการตัดสินใจ การทำงานลดลง ไม่มีสมาธิ ทำงานช้า
  6. มีความคิดวนเวียนว่าอยากจบชีวิตตนเองจนกลัวว่าอาจไม่สามารถควบคุมได้
  7. สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อยู่แล้วอาจพบว่าตนเองดื่มและสูบมากขึ้น
  8. มีอาการปวดศีรษะบ่อยครั้ง ปวดศีรษะเรื้อรัง
  9. สายตาเบลอ ปวดเมื่อยบริเวณบ่าและคอ
  10. ขี้ลืม ความจำไม่ดี คิดอะไรไม่ออก มึนงง หมดความสนใจกับสิ่งที่ชอบ

ความเครียดทำลายสุขภาพอย่างไร

ร่างกาย : เมื่อร่างกายเกิดความเครียด ต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดที่เรียกว่า “คอร์ติซอล” (Cortisol) ออกมามากขึ้น ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง และในบางรายอาจรุนแรงจนถึงชีวิตได้

จิตใจ : เมื่อได้รับความเครียดอาจทำให้จิตใจเหม่อลอย ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ไม่มีสมาธิ ขาดความรอบคอบในการทำงาน ขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตน หากมีภาวะเครียดเป็นเวลานาน อาจทำให้ความจำและสติปัญญาลดลง หรือเกิดภาวะซึมเศร้าได้

พฤติกรรม : ผู้ที่มีความเครียดมาก ๆ อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนไป เช่น เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น นอนไม่หลับทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานแย่ลง บางคนปลีกตัวออกจากสังคม และบางคนอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้น ความอดทนต่ำลง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ จนถึงขั้นทำร้ายร่างกายตนเอง หรือทำร้ายผู้อื่น

เครียดไม่รู้ตัวต้องรับมืออย่างไร

  1. หากิจกรรมที่ชื่นชอบที่ทำให้ผ่อนคลาย ค้นหาสิ่งที่ชอบ และสบายใจ เช่น การดูหนัง ปลูกต้นไม้ วาดภาพ ออกกำลังกาย ทานอาหารอร่อย ๆ
  2. การสูดกลิ่นน้ำมันหอมระเหย จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เพราะจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับเอนไซม์ต่างๆ ในร่างกาย โดยกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจะไปกระตุ้นให้สมองผ่อนคลายขึ้น
  3. ฟังเพลงที่ชอบ ดนตรีบำบัด หรือMusic Therapy ถูกนำมาใช้เพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งการใช้ดนตรีบำบัดมีผลต่อการปรับสมดุลของฮอร์โมนคอลติซอล (Cortisol) ทำให้รู้สึกผ่อนคลายลง จึงช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียดได้อย่างดี
  4. ปรับความคิด พยายามมองโลกในแง่บวก ไม่จมอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากจนเกินไป วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุนั้น ๆ
  5. ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเท่าที่สามารถทำได้ อาจเป็นการปรับเปลี่ยนการตกแต่งที่อยู่อาศัย เช่น จัดบ้าน จัดโต๊ะทำงาน รวมถึงการออกไปผ่อนคลายตามสถานที่ต่าง ๆ
  6. จัดสรรเวลาการใช้ชีวิตในแต่ละวันให้สมดุล (work life balance) โดยจัดสรรเวลาสำหรับการทำงาน และใช้ชีวิตส่วนตัวเพื่อสิ่งที่เป็นคุณค่าของตนเองอย่างเหมาะสม จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

เครียดไม่รู้ตัว

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดไม่รู้ตัว

  1. ออกกำลังกาย การได้ยืดเส้นยืดสาย ทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลายความเครียดไปด้วย
  2. ฝึกจิต ปล่อยวาง ลดความเครียด เพื่อให้ไม่เราจมอยู่กับปัญหาบางอย่างมากจนเกินไป
  3. ปรับความคิด ไม่จมอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากจนเกินไป เสพข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ อย่างเป็นกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความวิตกกังวลต่อเนื่องจนส่งผลให้นอนไม่หลับ
  4. ผ่อนคลายความเครียดอยู่เสมอ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ

นอกจากการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเครียดแล้ว ยังสามารถเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดความเครียดและช่วยเรื่องการนอนหลับอย่าง Becoplus ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติรวมกว่า 11 ชนิด ช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล ลดการเกิดภาวะซึมเศร้า และยังช่วยปรับสมดุลการนอนหลับให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำและสมาธิ เหมาะกับวัยทำงานที่อาจเจอปัญหาเครียดไม่รู้ตัว ต้องการผู้ช่วยเพิ่มพลังสมอง และช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพ

Becoplus ประโยชน์อัดแน่นใน 1 แคปซูล

Becoplus เหมาะกับใคร

  • ชาย/หญิง 12 ปีขึ้นไป และผู้สูงวัย
  • ผู้ที่มองหาตัวช่วยในการนอนหลับและป้องกันอาการอัลไซเมอร์
  • ผู้ที่ต้องการอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง
  • ผู้ที่ต้องการบรรเทาอาการโรคเก๊าท์และข้ออักเสบ
  • ผู้ที่ต้องการลดปริมาณน้ำตาลในเลือด
  • วัยเรียนหรือวัยทำงานที่ใช้สมองในการอย่างหนักและเพิ่มสมาธิ

ครบเครื่องเรื่องบำรุงสมองและการนอนหลับต้อง Becoplus

บทความที่เกี่ยวข้อง

thThai