fbpx Skip to content

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สัญญาณอันตรายของโรคไหลตาย

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับสัญญาณอันตรายของโรคไหลตาย

หากการนอนหลับของคุณไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายเท่าที่ควร แต่กลับส่งผลเสียและทำให้เกิดโรคร้ายตามมาแทน คุณจะทำอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าโรคร้ายโรคนั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจและถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน เนื่องจากมีเหล่าคนดังจากทุกแวดวงพบเจอกับโรคนี้และได้ออกมาเตือนให้มีการเฝ้าระวังหรือสังเกตอาการเบื้องต้นกันมากขึ้น มีการทำ Sleep Test เพื่อทดสอบและวัดระดับความรุนแรงเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีด้วย และเพื่อไม่ให้ทุกคนเป็นกังวลมากเกินไป วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นอีกนิด เพื่อจะได้หาวิธีป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงทีค่ะ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันก่อนดีกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA) เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจที่อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้อย่างเต็มที่ เกิดขึ้นในขณะที่เรานอนหลับอยู่ ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง ในขณะที่ก๊าซออกซิเจนในเลือดจะลดลง เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น สมองจะรับรู้ได้ทันทีและตอบสนองโดยการทำให้สะดุ้งตื่นขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวว่าตื่น เพื่อให้กลับมาหายใจได้ปกติ โดยใน 1 คืนการหยุดหายใจขณะหลับสามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้ง ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ การทำงานของสมองที่แย่ลง ตื่นมาแบบไม่สดชื่น และทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาในอนาคตได้

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ส่วนสาเหตุของการหยุดหายใจขณะหลับก็เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะ เช่น ช่องคอ ผนังคอหอย ที่เกิดการแคบลง และทำให้ร่างกายพยายามหายใจแรงขึ้น แต่กลับทำให้อวัยวะตรงทางเดินหายใจยิ่งแคบลงไปอีก จึงไม่สามารถหายใจได้นั่นเอง และเมื่อเราพยายามหายใจก็จะเกิดแรงสั่นสะเทือนกลายเป็นเสียงกรน ซึ่งเสียงกรนนี่แหละค่ะที่เป็นสัญญาณเตือนของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสเป็นได้มากขึ้น และปัจจัยอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้เช่น โรคอ้วน โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน การดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเป็นต้น ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเกิดอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน เนื่องจากการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งหากเป็นในระยะที่รุนแรงมาก ๆ อาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตหรือที่เรียกว่าไหลตายได้

เช็กอาการเบื้องต้น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ทำความรู้จักกับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กันไปแล้ว มาถึงตรงนี้ทุกคนคงอยากจะรู้แล้วว่า อาการแบบไหนที่เป็นสัญญาณเตือนหรือบ่งบอกว่าเข้าข่ายจะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้บ้าง มาลองสังเกตอาการเบื้องต้นที่เรานำมาฝากกันค่ะ

อาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการขณะนอนหลับ

  • หายใจแรงและนอนกรนเสียงดังเป็นประจำ หรือมากกว่า 3 คืน/สัปดาห์
  • มีอาการเหมือนสำลักขณะนอนหลับ
  • ขยับขาไปมาขณะหลับ
  • ละเมอเดินหรือพูด
  • ฝันร้าย และออกท่าทางขณะฝัน
  • มีอาการชัก
  • นอนกัดฟัน

อาการเมื่อตื่นนอนแล้ว

  • ปวดหัว เจ็บคอและปากแห้งทุกครั้งหลังตื่นนอน
  • รู้สึกเพลียและง่วงนอนในตอนกลางวันมากกว่าปกติ
  • ไม่มีสมาธิ ขี้ลืม ควบคุมตัวเองไม่ได้
  • อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย

วิธีป้องกันและการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่คุณสามารถทำเองได้

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เปลี่ยนท่านอน เช่น นอนตะแคงจะช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • เลือกหมอนให้เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  • ทำ Sleep Test ประเมินภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงที่เกิดขึ้น ตามลำดับดังนี้

1.ภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับเริ่มต้น  (Mild OSA)

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงการนอน เช่น 

  • การควบคุมน้ำหนัก
  • การออกกำลังกาย
  • เข้านอนให้เป็นเวลา เพื่อปรับสมดุลการนอนให้เป็นปกติมากที่สุด
  • เปลี่ยนท่านอนเป็นนอนตะแคง

2.ภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับปานกลาง (Moderate OSA)

ในระดับที่มีอาการมากขึ้นมาหน่อย มักจะทำการรักษาด้วยครื่องช่วยสร้างแรงดันบวกในทางเดินหายใจ

(Positive airway pressure therapy, PAP) หรือหน้ากาก CPAP เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายทางเดินหายใจให้โล่งขึ้นในขณะนอนหลับ ทำให้อากาศเข้าไปได้เยอะขึ้น ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบัน

3.ภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรง (Severe OSA)

หากอาการของผู้ป่วยถึงขั้นรุนแรงมาก และลองมาหลายวิธีแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น การผ่าตัดจะเป็นวิธีที่แพทย์จะแนะนำให้กับผู้ป่วย ซึ่งการผ่าตัดก็จะมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ขึ้นของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น  การผ่าตัดเพดานอ่อน ผ่าตัดกระดูกกราม การผ่าบริเวณคอหอย การผ่าตัดจมูก หรือการเจาะคอเพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น

เพิ่มคุณภาพการนอนหลับด้วยสมุนไพร

สาเหตุหนึ่งของภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็คือการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือการนอนที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งมาจากความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันจึงเห็นกิจกรรมที่ช่วยคลายความเครียดเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการทานอาหารเสริมที่ช่วยคลายความกังวลและช่วยปรับสมดุลการนอนหลับ ซึ่งการทานอาหารเสริมก็เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเอง วันนี้เราขอแนะนำตัวช่วยที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก นั่นก็คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบีโคพลัส (Becoplus) ที่ช่วยคลายกังวล และความเครียด ทำให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น หลับลึกและหลับสนิทมากกว่าที่เคย

นอนไม่หลับ

มาในรูปแบบแคปซูลจากพืช พร้อมสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติถึง 11 ชนิด เช่น พรมมิ แปะก๊วย เก๋ากี้ ใบสะระแหน่ เป็นต้น นอกจากจะช่วยเรื่องปรับสมดุลการนอนแล้ว ยังช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำ ป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงวัย ทานได้ทุกเพศตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป

สรรพคุณของสารสกัด 11 ชนิด

  • พรมมิ (Bacopa monnieri)
    • บำรุงสมอง ฟื้นฟูความจำ
    • เพิ่มสมาธิ
    • ป้องกันอัลไซเมอร์
    • ลดอาการซึมเศร้า คลายกังวล ส่งผลให้นอนหลับง่ายขึ้น
    • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • L-Theanine
    • ทำให้ระบบประสาทและสมองผ่อนคลาย
    • ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้นและหลับลึกขึ้น
    • ลดสภาวะความเครียด
    • ส่งเสริมการเรียนรู้และความทรงจำ
    • ช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น
  • Tart Cherry Powder
    • ช่วยลดความเครียด และความซึมเศร้าได้
    • ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
    • ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้น
    • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
    • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใสขึ้น
    • บำรุงสมอง
  • Ginkgo Leaf
    • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
    • ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
    • ช่วยลดความเครียด และความซึมเศร้าได้
    • ช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือน
    • อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมสภาพผิว
  • Lemon Balm
    • ช่วยให้ผ่อนคลาย
    • ช่วยในการนอนหลับ
    • เสริมสร้างระบบความจำ
    • ปรับสมดุลความดันโลหิต
    • ขจัดความเหนื่อยล้า
  • Goji Berry
    • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
    • ช่วยบำรุงสายตา
    • ช่วยให้มีความจำดี
    • ช่วยลดน้ำหนัก โดยเสริมการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานแทนไขมัน
  • Vitamin D
    • ช่วยลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า
    • เพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ
    • ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดและป้องกันโรคเบาหวาน
    • ช่วยชะลอวัยของผิว
    • ป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก
  • Vitamin B2
    • ช่วยป้องกันการเกิดไมเกรน
    • ทำให้ผิวหนัง เล็บ เส้นผมมีสุขภาพดี
    • ช่วยบรรเทาอาการอ่อนล้าของดวงตา
    • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
    • ช่วยในกระบวนการสร้างการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์
  • Vitamin B3
    • ช่วยเผาผลาญอาหาร ทำให้เกิดพลัง และสร้างไขมันในร่างกาย
    • ช่วยการไหลเวียนของเลือด
    • ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน
    • ลดความดันโลหิต
    • ลดระดับคลอเรสเตอรอล
  • Vitamin B5
    • ช่วยเรื่องการนอนหลับ
    • ช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลีย
    • ช่วยผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
    • บรรเทาอาการข้ออักเสบ
    • ลดระดับคอเลสเตอรอล
  • Vitamin B6
    • ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง
    • ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
    • ป้องกันโรคทางระบบประสาทและโรคผิวหนัง
    • ช่วยให้ร่างกายดูดซึมโปรตีนและไขมันได้ดียิ่งขึ้น
    • ช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารผ่อนคลาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

สินค้าล่าสุด

thThai