fbpx Skip to content

Morning Depression ไม่อยากลุกจากเตียง ซึมเศร้า ทุกเช้าที่ตื่นนอน

Morning Depression ซึมเศร้า

Good Morning ทุกคน ตื่นมาเช้านี้เป็นอย่างไรกันบ้าง พร้อมลุกจากที่นอนไปทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ กันหรือยัง การเริ่มต้นวันใหม่อย่างสดใสและไม่หดหู่จะทำให้ทั้งวันของคุณเป็นวันที่ดี เพื่อน ๆ จะมีสมาธิ และโฟกัสกับสิ่งตรงหน้าได้ดีขึ้น แต่ถ้าใครที่รู้สึกไม่อยากลุกจากที่นอน หดหู่ทุกเช้าที่ตื่นมา หรือมีความรู้สึกเศร้าแบบแปลก ๆ คล้าย ซึมเศร้า แบบนี้ต้องระวังแล้วนะคะ เพราะอาจเข้าข่ายอาการที่เรียกว่า Morning Depression หรืออาการซึมเศร้าตอนเช้า แล้วอาการที่ว่านี้มันคืออะไร อันตรายหรือไม่ แล้วจะมีวิธีแก้อย่างไร ลองมาทำความรู้จักกับอาการนี้กันค่ะ

Morning Depression ซึมเศร้า

“Morning Depression” ซึมเศร้า ทุกเช้าที่ตื่นนอน

คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จักหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ากันมาบ้างแล้ว แต่น้อยคนที่จะเคยได้ยินคำว่า Morning Depression หรือ อาการซึมเศร้าตอนเช้า ซึ่งเป็นอาการที่ตื่นมาแล้วจะทำให้คน ๆ นั้นรู้สึกหดหู่ หรือเศร้าโดยที่หาสาเหตุไม่ได้ ต่างจากความเศร้าทั่วไป ทำให้การเริ่มต้นวันใหม่เป็นเรื่องยาก อาการนี้จะค่อย ๆ หายหรือดีขึ้นระหว่างวัน แต่พอเช้าอีกวันก็จะกลับมาเป็นซ้ำและวนแบบนี้ไปในทุกวัน โดยในปี 2021 มีรายงานวิจัยของสหรัฐอเมริกา พบว่า อาการซึมเศร้าตอนเช้ามักเกิดกับผู้ป่วยในวัย 30 ปีขึ้นไป และพบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางรายจะมีอาการที่ว่านี้ร่วมกับอาการซึมเศร้าอื่น ๆ ด้วย 

Morning Depression ซึมเศร้า

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าตอนเช้าอาจจะยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็ได้มีการสันนิษฐานว่าอาการนี้อาจเกี่ยวข้องกับสมดุลของนาฬิกาชีวิต (circadian rhythm) ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่คงที่ โดยปกติแล้วนาฬิกาชีวิตจะช่วยกำหนดเวลาตื่น นอน ปรับอุณหภูมิ หรือแม้แต่ปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ระบบในร่างกายเป็นปกติ เช่น ในช่วงเช้าหรือช่วงที่ฟ้าสว่างร่างกายจะหลั่งคอร์ติซอลออกมามากกว่าช่วงเย็น และช่วงที่แสงน้อยหรือช่วงกลางคืนสารเมลาโทนินจะถูกกระตุ้นให้ผลิตออกมาและเข้าสู่ช่วงของการนอนหลับ เมื่อนาฬิกาชีวิตไม่สมดุล นอนไม่เป็นเวลา หรือมีปัญหาเรื่องการนอนก็อาจจะมีผลต่อการเกิดอารมณ์ในทางลบ ทำให้อาจเกิดอาการซึมเศร้าตอนเช้าได้นั้นเอง

เช็กอาการ ซึมเศร้า หลังตื่นนอน

ทำความรู้จักเบื้องต้นกับอาการซึมเศร้าตอนเช้ากันไปแล้ว เราลองมาสังเกตอาการของเพื่อน ๆ หรือคนรอบตัวกันบ้างดีกว่า ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นซึมเศร้าตอนเช้าหรือไม่ หรืออาการที่คุณเป็นอยู่จะเป็นแค่ความเบื่อหน่าย ความเศร้าที่เกิดขึ้นได้ปกติกับทุกคน

โดยข้อแตกต่างที่ง่ายที่สุดที่จะสังเกตได้เลยก็คือ อาการซึมเศร้าตอนเช้าจะเป็นความเศร้าในแบบที่หาสาเหตุไม่ได้ ไม่รู้ว่าเราเศร้าเรื่องอะไรหรือเพราะอะไร และไม่อยากลุกจากที่นอนแบบดื้อ ๆ เลย ต่างจากความเศร้าทั่วไปที่จะสามารถหาสาเหตุได้ มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน รู้สึกขี้เกียจไม่อยากลุกจากที่นอนเพราะนอนไม่พอหรือนอนไม่หลับนั้นเอง

ซึมเศร้าหลังตื่นนอน

มาลองเช็ก 3 อาการแบบง่าย ๆ กันค่ะ

    1. หลังตื่นนอน มีความรู้สึกหดหู่ ไม่อยากตื่น รู้สึกสิ้นหวัง หรือเบื่อโดยไม่ทราบสาเหตุ
    2. สิ่งที่เคยชอบก็กลายเป็นไม่ชอบ
    3. เมื่อออกไปเจอผู้คน หรือใช้ชีวิตระหว่างวันอาการจะดีขึ้น แต่พอตื่นเช้าอีกวันอาการเบื่อก็กลับมาเหมือนเดิม

ถ้าเพื่อน ๆ เริ่มมีอาการเหล่านี้ อาจจะเข้าข่ายโรคซึมเศร้าอยู่ก็ได้ วันนี้เรามีวิธีปรับการใช้ชีวิตแบบง่าย ๆ มาให้ลองทำตามกันดู เพราะอาการเหล่านี้หากได้รับการรักษาหรือหาวิธีป้องกันได้อย่างทันท่วงที ก็จะหายได้ จะมีวิธีไหนบ้าง ไปลองดูกัน

5 วิธี ตื่นอย่างสดใส ลดอาการ ซึมเศร้า ตอนเช้า

ตื่นเช้าไม่สดใส หรือไม่อยากลุกจากที่นอน ลองมาปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวันกันค่ะ เริ่มจากทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ 5 ข้อที่เรานำมาฝากกันในวันนี้

ลดอาการซึมเศร้า

    1. เพื่อให้นาฬิกาชีวิตเกิดความสมดุล เมื่อตื่นนอนแล้วให้เราเปิดผ้าม่านเพื่อรับแสงแดดยามเช้าทันที และควรเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อให้ร่างกายผลิต Growth Hormones ออกมาซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายได้ในเวลาที่เหมาะสม ทำแบบนี้เป็นประจำเพื่อให้ร่างกายเกิดความเคยชินและสร้างความสมดุลให้ร่างกาย
    2. หลังตื่นนอนควรดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว เพื่อเป็นการกระตุ้นระบบภายในร่างกาย ช่วยให้เราสดชื่นอีกด้วย
    3. เก็บที่นอนทันทีหลังตื่นนอน เพราะเมื่อที่นอนเป็นระเบียบแล้วจะทำให้เราไม่อยากล้มตัวลงไปนอนอีก เหมือนเป็นการบังคับตัวเองไปในตัว และยังช่วยลดการสะสมแบคทีเรียบนที่นอนด้วย
    4. เดินออกกำลังกายเบา ๆ รับแสงแดดอ่อน ๆ ในยามเช้า เป็นการเติมวิตามินให้ผิวและร่างกาย ช่วยลดความเครียดและทำให้สมองโล่งสุด ๆ พร้อมรับวันใหม่ ไม่ว่าเรื่องไหนก็พร้อมลุย
    5. ควรทานอาหารเย็นให้เสร็จก่อน 6 โมงเย็น เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาในการย่อยอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ยิ่งเราทานข้าวดึกเท่าไหร่ ร่างกายก็ยิ่งต้องทำงานหนักเพื่อที่จะย่อยอาหารให้ทันก่อนที่เราจะเข้านอน ก็อาจส่งผลให้เราต้องเข้านอนดึกขึ้น หรือเมื่อเข้านอนแล้วก็อาจจะทำให้อึดอัด นอนไม่หลับ และตื่นเช้ามาก็จะไม่สดชื่นเพราะรู้สึกว่านอนไม่พอนั้นเอง

ผ่อนคลายความเครียด ปรับสมดุลการนอนด้วยบีโคพลัส

ลดอาการซึมเศร้า คลายความกังวลด้วยบีโคพลัส

นอกจาก 5 วิธีที่เราได้นำมาฝากกันแล้ว ยังมีอีก 1 ตัวช่วยดี ๆ ที่เราอยากแนะนำเพื่อช่วยให้การนอนของเพื่อน ๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นั้นก็คือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบีโคพลัส (Becoplus) ที่สกัดจากสมุนไพรและธรรมชาติไม่มีสารเคมีเจือปน จะช่วยปรับสมดุลการนอนให้ดีขึ้น ทำให้นอนหลับลึก ไม่ตื่นกลางดึก และยังช่วยบำรุงสมอง คลายความกังวลซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า เป็นการสร้างสมดุลให้กับนาฬิกาชีวิต ทำให้ตื่นนอนแบบสดชื่น ไม่ซึมเศร้าทุกเช้าอีกต่อไป เมื่อคุณภาพการนอนหลับดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตามไปด้วย

    • รวมสารสกัดจากสมุนไพรและธรรมชาติ 11 ชนิด
    • แคปซูลผลิตจากพืช
    • ไม่มีส่วนผสมของยานอนหลับ
    • ทานวันละ 1-2 แคปซูล ก่อนนอน
    • บำรุงระบบประสาทและสมอง
    • ช่วยให้หลับสนิทยิ่งขึ้น หลับลึก หลับง่ายกว่าที่เคย
    • ป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
    • เสริมสร้างสมาธิ
    • ผ่อนคลายความเครียด
    • ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า
    • ลดอาการปวดไมเกรน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง