ปัญหาที่คุณอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว “ไม่มีสมาธิ” ในการทำงาน
“ไม่มีสมาธิ” ในการทำงาน ปัญหาใกล้ตัวที่หลาย ๆ คนมองข้ามเพราะคิดว่าปัญหานี้อาจเกิดจากความขี้เกียจ ความเหนื่อยล้า หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน แต่ความจริงนั้นการไม่สามารถจดจ่อกับงานหรือสิ่งที่ทำอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับสมาธิหรือโรคที่มีลักษณะคล้ายสมาธิสั้น
“ไม่มีสมาธิ”ทำงานคล้ายกับโรคสมาธิสั้นหรือไม่?
การไม่มีสมาธิในการทำงานอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค ADT (Attention Deficit Trait) หรือโรคสมาธิสั้นของวัยทำงาน เป็นโรคที่มีลักษณะอาการคล้ายกับโรคสมาธิสั้น (ADD: Attention Deficit Disorder) แต่มีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานทำให้สมองตอบสนองต่อความต้องการของงานที่ต้องเสร็จเร็ว และเริ่มละเลยประสิทธิภาพของงาน
สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานในปัจจบันที่ต้องแข็งขันกับเวลาอยู่เสมอ ทำให้เรารู้สึกว่างานทุกชิ้นนั้นเร่งด่วนเหมือนกันทั้งหมด ซึ่งการทำงานแบบเร่งรีบส่งผลให้สมองสูญเสียความสามารถในการคิด และวิเคราะห์ในการทำงานอย่างละเอียด ทำให้ประสิทธิภาพของงานแลดลง ทำงานพลาดอยู่บ่อยครั้ง ต้องแก้งานเดิมซ้ำกันหลาย ๆ รอบ จนทำให้รู้สึกเหนื่อย เครียด และกังวลมากขึ้นกว่าเดิม
พฤติกรรมแบบไหนที่กำลังบ่งบอกว่า”ไม่มีสมาธิ”ทำงาน
หลาย ๆ คนอาจไม่เคยสังเกตพฤติกรรมของตัวเอง มาลองสังเกตตัวเองกันว่าเริ่มมีพฤติกรรมการทำงานเหล่านี้บ้างหรือไม่
-
- คุณชอบทำงานแบบ Multitasking ทำหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
- คุณมักจะจัดลำดับความสำคัญของงานไม่ได้
- คุณต้องใช้ระยะเวลาในการทำงานมากขึ้นกว่าปกติ
- คุณไม่มีสมาธิ จิตใจวอกแวก ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นาน
- คุณอยากทำงานให้เสร็จเร็วๆ แต่ไม่ได้ตั้งใจกับการทำงานเท่าที่ควร
- คุณรู้สึกเครียด และกังวลเกี่ยวกับงาน หรือเรื่องส่วนตัวตลอดเวลา
- คุณรู้สึกไม่กระตือรือร้น เฉื่อยชา และทำงานพลาดอยู่บ่อยครั้ง
- คุณมีอารมณ์แปรปรวนอยู่บ่อยๆ จนทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้
- คุณรู้ตัวว่ามีความสามารถ แต่ทำงานออกมาได้ไม่ดีนัก
- คุณแบ่งเวลาไม่ได้อีกต่อไป ไม่รู้จะทำชิ้นไหนก่อน-หลัง มีปัญหาอยู่กับการจัดการระบบงานต่าง ๆ อยู่เสมอ
- ความคิดสร้างสรรค์ของคุณหายไป ไม่กระตือรือร้น
- คุณเริ่มไม่ดูแลตัวเอง ละเลยการดูแลสุขภาพ และไม่สนใจที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้น
แก้ไขและปรับพฤติกรรมไม่มีสมาธิทำงานได้อย่างไร
อย่าเพิ่งวิตกจนเกิดไปเพราะปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
-
- เลือกสถานที่ที่เหมาะกับการทำงาน เพราะสถานที่และสภาพแวดล้อมต่างๆ นั้นสามารถส่งผลต่อสมาธิของเราระหว่างทำงานได้ โดยสถานที่ที่เหมาะกับการทำงาน มีดังนี้
– บ้าน สถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย มีความเป็นส่วนตัว เงียบสงบจึงทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังสามารถจัดสถานที่นั่งทำงานได้ตามใจชอบ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบของการทำงาน แถมยังช่วยเสริมให้ทุกคนมีสมาธิมากยิ่งขึ้นอีกด้วย แต่หากบ้านที่มีสมาชิกภายในครอบครัวหลายคน อาจมีเสียงดังรบกวนก็สามารถเลือกสถานที่ทำงานที่อื่นๆ แทนได้
– ออฟฟิศ เป็นสถานที่สำหรับทำงานที่มีสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการทำงาน ส่งผลให้รู้สึกว่าจะต้องตั้งใจทำงานเหมือนกับคนอื่นๆ และจะทำให้คุณสามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำอยู่ได้มากขึ้น
– Co-working Space เป็นสถานที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เหมือนกับทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ แต่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายเหมือนกับทำงานอยู่ที่บ้าน ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่วัยทำงานได้เป็นอย่างดี - ดื่มกาแฟหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา หรือโกโก้ เป็นอีกเทคนิคที่จะช่วยให้คุณมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น เพราะอาการง่วงหรือตาพร่ามัวจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานส่งผลให้คุณนั้นไม่มีสมาธิในการทำงานได้ ดังนั้นการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน จะช่วยให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและสามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้ดีมากยิ่งขึ้น
- การวางแผนการทำงานในแต่ละวันนั้น ช่วยทำให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะว่าการวางแผนจะช่วยให้คุณสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานแต่ละชิ้นได้ดี และมีเป้าหมายในแต่ละวันมากขึ้น เมื่อคุณทราบว่าแต่ละวันจะต้องทำอะไรบ้าง จะส่งผลให้คุณกระตือรือร้นในการทำงานเหล่านั้นให้สำเร็จตามเป้าหมาย และทันเวลาที่กำหนดไว้ แถมยังทำให้คุณจดจ่อกับงานได้มากขึ้น และงานที่คุณทำนั้นจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย
- ไม่ทำงานแบบ Multitasking เพราะการทำงานแบบ Multitasking ทำให้คุณจดจ่อไปที่งานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้อย่างไม่เต็มที่ และส่งผลให้คุณไม่มีสมาธิทำงานมากเท่าที่ควร เพราะจะต้องทำงานแต่ละชิ้นแบบสลับไปสลับมา นอกจากนั้นการทำงานแบบ Multitasking ยังทำให้คุณต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าการทำงานแบบจดจ่อทีละชิ้น และอาจส่งผลให้งานทุกชิ้นที่ทำออกมานั้นไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย ดังนั้นทุกคนที่กำลังทำงานแบบ Multitasking จึงควรหยุดการกระทำนี้ และหันมาทำงานทีละชิ้นเพื่อเป็นการฝึกสมาธิในการทำงาน
- หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนจากรอบข้างระหว่างทำงาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง การดูแจ้งเตือนต่าง ๆ ของโทรศัพท์ หรือสิ่งรบกวนอื่น ๆ ที่จะทำให้ไม่มีสมาธิทำงาน หรือจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่มากเท่าที่ควร และยังทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการทำงานผิดพลาดมากขึ้นอีกด้วย
- แบ่งเวลาพักระหว่างทำงานให้ดี เพื่อให้สมองได้พักผ่อน และฟื้นฟูจากความเหนื่อยล้า พร้อมกลับมาสนใจงานที่กำลังทำ และมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ ถือว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาไม่มีสมาธิทำงานที่ตรงจุดมากที่สุด เพราะการนอนหลับอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงนั้นจะช่วยให้ร่างกายและสมองได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ พร้อมสำหรับการทำงานในวันถัดไป แต่ถ้าหากพักผ่อนน้อยเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของด้านต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างเช่นด้านความคิดและความจำ แถมยังทำให้ไม่มีสมาธิหรือไม่สามารถจดจ่อกับงานได้
- เลือกสถานที่ที่เหมาะกับการทำงาน เพราะสถานที่และสภาพแวดล้อมต่างๆ นั้นสามารถส่งผลต่อสมาธิของเราระหว่างทำงานได้ โดยสถานที่ที่เหมาะกับการทำงาน มีดังนี้
อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิและยังช่วยบำรุงสมองที่ใคร ๆ ก็บอกต่อนั่นก็คือ Becoplus (บีโคพลัส) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยบำรุงระบบประสาท สร้างเสริมสมาธิ ปรับสมดุลการนอน ตอบโจทย์วัยเรียนวัยทำงานที่ใช้สมองหนัก มีความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ต้องการตัวช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย 😌
Becoplus ประโยชน์อัดแน่นทุกแคปซูล
-
- บำรุงระบบประสาทและสมอง
- ช่วยให้หลับสนิทยิ่งขึ้น หลับลึก หลับง่ายกว่าที่เคย
- ป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
- เสริมความจำ บำรุงสมองขณะนอนหลับ เพิ่มประสิทธิภาพการจดจำให้ดียิ่งขึ้น
- เสริมสร้างสมาธิ
- ผ่อนคลายความเครียด
- ช่วยบำรุงให้ร่างการแข็งแรง
- สารสกัดจากธรรมชาติ 100%
- ลดอาการปวดไมเกรน