เคยสงสัยกันไหมคะว่า ความฝัน ที่เกิดขึ้นในขณะหลับนั้นเกิดจากอะไร บางคืนฝันบางคืนไม่ฝันมันจะส่งผลกับการนอนของเราไหม และทำอย่างไรจึงจะหลับฝันดี วันนี้ Becoplus มีคำตอบมาฝากค่ะ
ความฝันเป็นเรื่องราวลึกลับที่เกิดขึ้นในสมองของมนุษย์ขณะนอนหลับ สมองจะฉายภาพของสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นจากจินตนาการหรือจิตใต้สำนึก ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถระบุข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับความฝันได้ทั้งหมด
ความฝัน ในขณะหลับเกิดขึ้นได้อย่างไร
มีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ออกมามากมายว่าความฝันเกิดขึ้นได้อย่างไร เช่น ความฝันเป็นกระบวนการจัดการความจำของสมอง ความฝันเป็นผลมาจากจิตใต้สำนึก ความคิด ความเครียด หรือสิ่งที่เคยพบเห็น ความฝันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีและกระแสไฟฟ้าภายในสมอง หรือความฝันยังอาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยของร่างกาย เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญมองว่าความฝันคือการที่ร่างกายได้ระบายความเครียดความเหนื่อยล้าในจิตใจออกมาเพื่อให้สมองและร่างกายผ่อนคลายขึ้น นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีของคาร์ล ยุง ที่เกี่ยวกับเรื่องของความฝันกับจิตวิทยาว่า ความฝันคือการชดเชยทางอารมณ์และเป็นพื้นที่สำหรับเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง เพราะในความเป็นจริงเราไม่อาจเปิดเผยความเป็นตัวตนเช่นนั้นได้ จึงต้องเก็บมันเอาไว้และสุดท้ายตัวตนเหล่านั้นจึงมาปรากฎตัวในความฝันแทน
สมองสร้างความฝัน
ความฝันเป็นกระบวนการทางสมองที่ทำงานขณะนอนหลับ ในขณะที่ร่างกายกำลังนอนหลับพักผ่อน แต่สมองยังผลิตสารเคมีต่าง ๆ โดยความฝันนั้นเกิดขึ้นจากสมองส่วนที่รักษาความทรงจำส่งข้อมูลในรูปคลื่นสมองไปยังสมองใหญ่ ทำให้สมองยังคงทำงานตลอดเวลาและเกิดเป็นความฝัน ซึ่งความฝันมักเกิดขึ้นในการหลับระยะ REM หรือช่วงมีการเคลื่อนไหวดวงตาอย่างรวดเร็วขณะนอนหลับ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สมองเสมือนว่ากำลังตื่นอยู่หากตื่นจากฝันในช่วงนี้มีแนวโน้มว่าจะจำความฝันได้
ความฝันนั้นกินระยะเวลาตั้งแต่ไม่กี่วินาทีไปจนถึง 20 นาที โดยในหนึ่งคืนจะเข้าสู่ภาวะฝันประมาณ 5-8 ครั้งต่อคืน และการนอนหลับพักผ่อน 8 ชั่วโมงจะใช้เวลาไปกับการฝันเฉลี่ยแล้ว 2 ชั่วโมง แต่เราอาจไม่สามารถจดจำความฝันเหล่านั้นได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจริง ๆ แล้วเราไม่ได้ลืมเหตุการณ์ในฝัน เพียงแต่ถูกเก็บไว้ในความทรงจำส่วนลึกและไม่สามารถระลึกถึงได้ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงก็อาจทำให้จำความฝันนั้นได้ หรือมักจะจำเรื่องสุดท้ายที่ฝันได้เพราะใกล้เป็นช่วงตื่นนอนมากที่สุด
ความฝัน เริ่มตั้งแต่ตอนไหน
จริง ๆ แล้วรอบการนอนของเราแบ่งเป็น 3 ระยะ ซึ่งทั้ง 3 ระยะนี้จะวนเวียนไปเรื่อย ๆ เป็นรอบ รอบละประมาณ 90นาที โดยช่วงของการหลับฝันนั้นจะเกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ ในรอบแรก และเมื่อมีชั่วโมงการนอนที่มากขึ้นความฝันก็จะยาวขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามรอบการนอน ซึ่ง 1 รอบการนอนแบ่งได้ 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 หลับตื้น เป็นช่วงที่กำลังเคลิ้ม สะลึมสะลือ ร่างกาย เริ่มผ่อนคลาย หายใจช้าลง อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง
ระยะที่ 2 หลับลึก เป็นช่วงที่ร่างกายผ่อนคลายและได้รับการพักผ่อนมากที่สุด
ระยะที่ 3 หลับฝัน หรือ REM Sleep (Rapid Eye Movement Sleep) จะเป็นช่วงที่ดวงตาของเรากลอกไปมาอย่างรวดเร็ว และสมองตื่นตัวเหมือนตอนตื่นนอน แต่เพราะว่าหลับอยู่ สมองจึงทำงานผ่านความฝันแทนนั่นเอง
สาเหตุที่ทำให้เกิดความฝัน
1. ความเจ็บปวด
เกิดจากสภาพจิตใจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ส่งผลให้ภาวะจิตใจในขณะนั้นกระตุ้นให้เกิดความฝันที่ยังหมกมุ่นอยู่กับเหตุการณ์ดังกล่าว
2. มีเรื่องค้างคาใจ
เกิดจากการกระทำบางอย่างที่ยังไม่บรรลุหรือสำเร็จอย่างที่ตั้งใจ จึงทำให้เกิดความคิดที่ยังติดอยู่กับเหตุการณ์เหล่านั้น
3. ประสบการณ์ในอดีต
เมื่อต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความทรงจำในอดีตก็อาจกระตุ้นให้นำเหตุการณ์เหล่านั้นกลับมาเป็นความฝันได้
ความฝันส่งผลต่อคุณภาพการนอนหรือไม่
ความฝันไม่ได้ส่งผลกระทบกับคุณภาพการนอน ซึ่งคุณภาพของการนอนจะดีหรือไม่เราจะรู้ได้เองเมื่อตอนตื่นนอน หากมีคุณภาพการนอนที่ดีเราจะรู้สึกสดชื่นสดใส กระปรี้ประเปร่า โดยการนอนหลับที่มีคุณภาพนั้นจะต้องมีสัดส่วนของการนอนหลับลึกและหลับฝันที่เท่ากันภายในหนึ่งคืน แต่หากไม่ฝันเลยอาจะเป็นสัญญาณที่ร่างกายบอกว่าเราพักผ่อนน้อยไปแล้วนะ สมองจึงทำการตัดความฝันออกและเกิดการหลับลึกเพียงอย่างเดียวเพื่อเร่งฟื้นฟูร่างกาย
อยากหลับฝันดีต้องทำอย่างไร
ไม่มีข้อมูลใด ๆ ที่ระบุว่าถ้าอยากฝันดีจะต้องทำอย่างไร แต่เราสามารถเริ่มต้นได้ที่สภาพจิตใจและอารมณ์ความรู้สึกของเรา หากก่อนเข้านอนสภาพจิตใจดีอารมณ์ดีก็มีแนวโน้มที่จะหลับฝันดีมากกว่าคนที่มีจิตใจขุ่นมัวมีความเครียดสะสม
นี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับ ความฝัน ที่เราเอามาฝากกันในบทความนี้ บางเรื่องก็ซับซ้อนมากเกินที่จะมีคำตอบได้อย่างชัดเจน และแม้ความฝันจะไม่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนแต่การนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือสะดุ้งตื่นจากความฝันกลางดึกนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพการนอนอย่างแน่นอน ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากความเครียด วิตกกังวล รวมไปถึงการอดนอน
สร้างคุณภาพการนอนด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น มีวินัยในการเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา พักผ่อนอย่างเพียงพอ ผ่อนคลายจิตใจและอารมณ์ก่อนเข้านอน และเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus ที่มากกว่าการบำรุงสมองคือช่วยเรื่องการนอนหลับ ช่วยปรับสมดุลการนอนให้ดียิ่งขึ้น ทำให้นอนหลับได้สนิทและหลับได้อย่างต่อเนื่อง สกัดสารสกัดธรรมชาติล้วนกว่า 11 ชนิด ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีหรือยานอนหลับ สามารถทานได้อย่างต่อเนื่อง ปลอดภัยได้มาตรฐาน อย. เพียงวันละ 1 แคปซูลก่อนนอนเพื่อการนอนมีคุณภาพในทุก ๆ คืน
Becoplus ตัวช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับเต็มอิ่มและตื่นอย่างสดชื่น
-
- Bacopa monnieri (พรมมิ) – บำรุงสมองและความจำ
- Vitmin B6 – ดีต่อระบบประสาทและเส้นเลือด
- Vintamin B12 – ช่วยบำรุงประสาท เพิ่มสมาธิ
- L-theanine จากชาเชียว – ช่วยคลายเครียดและช่วยเรื่องนอนหลับ
Becoplus ประโยชน์อัดแน่นใน 1 แคปซูล
-
- บำรุงระบบประสาทและสมอง
- ปรับสมดุลการนอนให้หลับสนิทยิ่งขึ้น หลับลึก หลับง่ายกว่าที่เคย
- ป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
- เสริมความจำ บำรุงสมองขณะนอนหลับ เพิ่มประสิทธิภาพการจดจำให้ดียิ่งขึ้น
- เสริมสร้างสมาธิ
- ผ่อนคลายความเครียด
- บำรุงให้ร่างการแข็งแรง
- สารสกัดจากธรรมชาติ 100%
- ลดอาการปวดไมเกรน
ครบเครื่องเรื่องบำรุงสมองและการนอนหลับต้อง Becoplus