เพราะลืมบ่อย ลืมเก่ง จนไม่รู้แล้วว่าที่เป็นอยู่มันแค่อาการขี้หลงขี้ลืมของเราเอง หรือจริง ๆ แล้วเรากำลังมีภาวะ “สมองเสื่อม” กันแน่ แล้วแบบนี้มันจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหน อาการที่เป็นอยู่เรียกว่ารุนแรงหรือยัง แล้วทำยังไงถึงจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ วันนี้มาลองสังเกตุกันดู ว่าอาการของเพื่อน ๆ เข้าข่ายที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมแล้วหรือยัง ติดตามเรื่องราวทั้งหมดนี้ได้ในบทความนี้ค่ะ
ทำความรู้จักกับโรค “สมองเสื่อม” กันก่อน
หลายคนคงอยากทราบแล้วว่าอาการที่เป็นอยู่ จะใช่โรคสมองเสื่อมหรือไม่ อาการจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันก่อนดีกว่า
โรคสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) หรือภาวะสมองเสื่อม เกิดจากระบบการทำงานของสมองที่ค่อย ๆ เสื่อมลงหรือมีความบกพร่องจากการสูญเสียเซลล์สมองหลายส่วน เป็นภาวะที่สมองมีการทำงานแย่ลง จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป อาการที่พบได้บ่อย เช่น นึกคำพูดไม่ออก ไม่สามารถบวกลบเลขง่าย ๆ ได้ ความสามารถในการตัดสินใจหรือสื่อสารแย่ลง รวมถึงไม่สามารถทำอะไรที่เคยทำประจำได้ เช่น ติดกระดุมเสื้อเองไม่ค่อยได้ มีพฤติกรรมหรือบุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นต้น โดยอาการมักจะค่อยเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี
โรคสมองเสื่อมสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
– กลุ่มที่รักษาให้ดีขึ้นได้ เช่น โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ หรือเกิดจากการมีน้ำคั่งในโพรงสมองมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการมีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง
– กลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด
ทำไมถึงเป็นโรค “สมองเสื่อม” ได้
ไม่เพียงแค่อายุที่เพิ่มขึ้นหรือผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเป็นโรคสมองเสื่อม แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ สาเหตุหลัก ๆ มาจากความเสียหายหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสมองโดยตรง โดยโรคอัลไซเมอร์ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด และสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดเป็นสาเหตุรองลงมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสมองเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายกลับคืนเป็นปกติได้ และอาการมักเป็นมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นด้วย
สาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อย
-
- เกิดจากการเสื่อมสลายของเนื้อสมอง พบว่ามีสารที่เรียกว่า B-Amyloid สะสมอยู่ในเซลล์สมอง ทำให้เซลล์สมองตาย และไม่มีเซลล์สมองที่เกิดใหม่ขึ้นมาทดแทน ทำให้สมองส่วนที่เหลืออยู่ไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนเดิม เราเรียกความผิดปกติแบบนี้ว่าโรคอัลไซเมอร์
- ภาวะสมองเสื่อมที่มาจากโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด มักจะเกิดในผู้ป่วยเป็นโรคสมองขาดเลือด ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงระยะยาว หรือโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว
- เกิดจากการติดเชื้อในสมอง ถ้ามีการติดเชื้อในสมองจะเกิดการอักเสบ และทำให้เซลล์สมองบางส่วนตาย เช่น โรคซิฟิลิส HIV วัณโรค และ ไวรัสบางชนิด โรควัวบ้า
- เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน B1,B12 และ Folic Acid
- เกิดจากการแปรปรวนของระบบเมตาบอลิกของร่างกาย เช่น การทำงานของต่อมไร้ท่อบางชนิดผิดปกติไป โดยเฉพาะต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากหรือน้อยเกินไป
- การกระทบกระเทือนที่สมอง การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง
- เนื้องอกในสมอง
- โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาในการเคลื่อนไหว และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
อาการแบบนี้ ใช่โรคสมองเสื่อมหรือไม่
-
- ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง
- สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร
- ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี
- บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้
- พูดหรือถามเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ภายในระยะเวลาสั้น ๆ
- ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดมาไม่นาน
- หาของไม่เจอ
- ลืมนัดสำคัญบ่อย ๆ
- สับสนเรื่องทิศทาง หลงทางในที่คุ้นเคย
- นึกคำพูดยากขึ้นหรือใช้คำผิดบ่อย ๆ
- บุคลิก และอารมณ์เปลี่ยนไป เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุ
- บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว การใช้รีโมทโทรทัศน์ การทำกับข้าว
แนวทางการป้องกันและการรักษาโรคสมองเสื่อม
การรักษา
-
- รักษาตามสาเหตุ หากสรุปว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ แม้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาแบบประคับประคองโดยการใช้ยาและการไม่ใช้ยามีส่วนสำคัญอย่างมากในการเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วยและญาติ รวมถึงการคุยปรึกษากับแพทย์ยังสามารถทำให้ผู้ดูแลรับมือกับอาการต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องและมั่นใจ
- รักษาโดยใช้เครื่องมือช่วยกระตุ้นหรือฝึกสมองที่เริ่มเสื่อม (cognitive training)
แนวทางการป้องกันโรคสมองเสื่อม
-
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
- ระวังการให้สารที่อาจเกิดอันตรายกับสมอง เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาที่ไม่จำเป็น
- ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น งดสูบบุหรี่
- การฝึกสมองและพยายามทำกิจกรรมที่ได้ใช้สมองอย่างสม่ำเสมอ หรือ กิจกรรมทางสังคม อย่างน้อยให้มีกิจกรรมกับคนในครอบครัว
- การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คสุขภาพปีละ 1-2 ครั้ง
- ระมัดระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ศีรษะ
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำ อย่าง Becoplus (บีโคพลัส) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มพลังสมอง ที่ดูแลคุณและครอบครัว ทั้งวัยรุ่น วัยเรียน วัยทำงาน จนถึงผู้สูงวัย ช่วยปรับสมดุลการนอนหลับ บำรุงสมอง บำรุงระบบประสาท ช่วยเสริมสร้างความจำและสมาธิ ช่วยคลายกังวล และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติแท้ 100% ที่เราคัดสรรมาอย่างดีเพื่อคุณ
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามเราได้ที่ Facebook Fan page : Becoplus