นาฬิกาชีวภาพ หรือที่คุ้นหูกันในนาม “นาฬิกาชีวิต” เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานร่างกายที่สัมพันธ์กับการใช้ชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่เกิด วันนี้จะพามาทำความรู้จักกันนาฬิกาชีวิตเรือนนี้ให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตและเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของเราค่ะ
นาฬิกาชีวิต คืออะไร
นาฬิกาชีวิต คือวงจรของระบบการทำงานในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การตื่น การนอน การทานอาหาร การหลั่งฮอร์โมน ระบบภูมิต้านทาน หรือการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยมีงานวิจัยที่ค้บพบว่าการทำงานของยีนในร่างกายเกือบ 80% ทำงานตามระบบนาฬิกาชีวิตในแต่ละวัน หากมีพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับระบบนาฬิกาชีวิตจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพได้ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดในการควบคุมนาฬิกาชีวิตคือแสงสว่าง เพราะแสงสว่างที่สัมพันธ์กับแต่ละช่วงเวลานั้นจะส่งผ่านไปทางจอประสาทตา เข้าสู่สมองส่วนที่ชื่อว่า Central Brain Clock และกระจายไปยัง Peripheral Clocks เช่น กล้ามเนื้อ เซลล์ไขมัน ตับ ตับอ่อนและทางเดินอาหารแต่ละคนมีนาฬิกาชีวิตเหมือนกันหรือไม่
นาฬิกาชีวิตถูกตั้งมาให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก ดังนั้นนาฬิกาชีวิตของทุกคนจึงเหมือนกัน ลองสังเกตว่าหากคืนไหนที่เราไม่ได้นอนแล้วมาชดเชยด้วยการนอนตอนกลางวันแทนจะรู้สึกเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม ไม่สดชื่นเหมือนการนอนตอนกลางคืนแล้วตื่นนอนตอนเช้า แม้ว่าเราจะจัดสภาพแวดล้อมในห้องให้มืดเพื่อหลอกร่างกายว่าเป็นตอนกลางคืนก็ไม่สามารถเปลี่ยนนาฬิกาชีวิตได้ หรือเมื่อไปต่างประเทศที่เวลากลางวันและกลางคืนสลับกัน แม้ว่าช่วงกลางวันมีแสงแดด แต่เราก็ยังรู้สึกง่วงนั่นก็เพราะว่านาฬิกาชีวิตเราถูกกำหนดไว้เช่นนี้ แต่ร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการปรับตัวและปรับนาฬิกาชีวิตใหม่ดูแลสุขภาพตาม นาฬิกาชีวิต
-
- 01.00 – 03.00 น. ช่วงเวลาของตับ ตับมีหน้าที่สร้างน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมการเผาผลาญ โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน หลั่งสารมีลาโทนินเพื่อขับสารพิษในร่างกาย ซึ่งตับจะทำงานช่วงที่เราหลับ ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงควรนอนหลับให้สนิทเพื่อให้ตับทำงานได้อย่างเต็มที่ ไม่เช่นนั้นตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง เสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ
- 03.00 – 05.00 น. ช่วงเวลาของปอด เป็นช่วงเวลาที่ควรตื่นขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์เพื่อให้ปอดฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่ การตื่นนอนในช่วงนี้เป็นประจำจะทำให้ปอดทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส และช่วยเรื่องระบบทางเดินหายใจ
- 05.00 – 07.00 น. ช่วงเวลาของสำไส้ใหญ่ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการขับถ่ายเพื่อให้ของเสียในร่างกายถูกขับออกมา ซึ่งเราสามารถกระตุ้นลำไส้และช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้นได้ง่าย ๆ เพียงดื่มน้ำ 2 แก้วหลังตื่นนอน และควรขับถ่ายเป็นประจำทุกวันนอกจากจะช่วยขับของเสียออกจากร่างกายแล้ว ยังทำให้ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง ลดการเกิดสิว ลดอาการท้องผูก และลดโอกาสเสี่ยงเป็นริดสีดวงอีกด้วย
- 07.00 – 09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร ช่วงเวลาที่เหมาะกับการทานอาหารเช้าเพราะเป็นช่วงเวลาที่ย่อยอาหารได้ดีที่สุด จึงควรเลือกทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์เพื่อเพิ่มพลังงานให้ร่างกายนำไปให้อย่างเพียงพอ และการกินมื้อเช้าเป็นประจำจะทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง ลดโอกาสในการเกิดโรคอ้วนและโรคกระเพาะได้
- 09.00 – 11.00 น. ช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะตื่นตัวที่สุดหลังเริ่มวันใหม่ ตับอ่อนจะนำสารอาหารที่ได้ ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนม้ามจะคอยดักจับเชื้อโรคและสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นใหม่ ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน ช่วงเวลานี้ม้ามและตับอ่อนทำงานได้เต็มที่ที่สุดจึงไม่ควรนอนเพราะจะทำให้มีอาการไม่มีแรงและรู้สึกอ่อนเพลียได้
- 11.00 – 13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ความดันเลือดจะสูงขึ้นกว่าปกติ หัวใจทำงานหนักในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย จึงควรผ่อนคลายจิตใจ หลีกเลี่ยงเรื่องเครียด เพื่อรักษาความสมดุลของการทำงานของหัวใจ
- 13.00 – 15.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก งดการทานอาหารทุกชนิดในช่วงเวลานี้ เพื่อให้ลำไส้เล็กดูดซึมอาหารที่เป็นน้ำไปสร้างกรดอะมิโน เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างเต็มที่
- 15.00 – 17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการขับของเสียออกจากร่างกาย ควรออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เคลื่อนไหวร่างกายเพื่อให้เหงื่อออก หรือดื่มน้ำเพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย และไม่ควรอั้นปัสสาวะเพื่อให้ของเสียระบายออกจากร่างกายได้ดีขึ้น
- 17.00 – 19.00 น. ช่วงเวลาของไต ช่วงนี้เป็นเวลาที่ค่าไตจะสูงขึ้นมากเนื่องจากไตทำงานหนักมาทั้งวัน โดยเราสามารถกระตุ้นการทำงานของไตได้โดยการทำกิจกรรมให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว เช่น การเดินเล่น ทำงานบ้าน หรือออกกำลังกาย
- 19.00-21.00 น. ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลายเตรียมพร้อมสำหรับการเข้านอน เพราะเยื่อหุ้มหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือดจึงไม่ควรทำกิจกรรมที่ทำให้เลือดที่หัวใจสูบฉีดแรงกว่าปกติ
- 21.00-23.00 น. ช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการเข้านอน หากถ้าไม่ได้พักผ่อนในช่วงนี้อาจจะทำให้เป็นโรคเลือดจางได้ และเพื่อให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพ จึงควรทำร่างกายให้อบอุ่น ไม่ร้อนไม่หนาวจนเกินไป และไม่ควรอาบน้ำเย็นในช่วงนี้ เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายตื่นตัวและหลับยาก
- 23.00 – 01.00 น. ช่วงเวลาของถุงน้ำดี เป็นช่วงเวลาที่ควรพักผ่อนและควรจิบน้ำก่อนนอน เพื่อช่วยให้ถุงน้ำดีที่มีหน้าที่ย่อยไขมัน มีน้ำเก็บเอาไว้หล่อเลี้ยงร่างกายในเวลาหลับ และเจือจางไม่ให้น้ำดีข้นจนเกินไปจนทำให้ไขมันตกตะกอน จนอาจส่งผลเสียต่าง ๆ ตามมา เช่น ตื่นกลางดึก อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ลงพุง มีถุงไขมันใต้ตา หรือขาดวิตามินในกลุ่มที่ละลายในไขมัน
ปรับชีวิตตามนาฬิกาชีวิตเริ่มต้นด้วยการนอนอย่างเพียงพอ
เริ่มต้นการมีสุขภาพดีตามนาฬิกาชีวิตด้วยการนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยปกติแล้วคนเราควรนอน 1 ใน 3 ของรอบนาฬิกาชีวิต ซึ่งหากนอนพักผ่อนไม่เพียงพอจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูง และจะทำให้วงจรของนาฬิกาชีวิตของเราผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย จะดีกว่าไหมถ้าคุณได้ปรับสมดุลและเพิ่มประสิทธิภาพการนอนให้ดียิ่งขึ้นควบคู่ไปกับการบำรุงสมองด้วย Becoplus ที่สกัดจากสารสกัดธรรมชาติล้วนกว่า 11 ชนิด ที่ช่วยให้คุณนอนหลับได้ลึกขึ้นและหลับได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีหรือยานอนหลับ จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัย ผ่านมาตรฐาน อย. และยังช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างสมาธิ ป้องกันอัลไซเมอร์อีกด้วย มาเริ่มต้นดูแลตัวเองตอนนี้ด้วยนาฬิกาชีวิตและ Becoplus กันนะคะ Becoplus ประโยชน์อัดแน่นใน 1 แคปซูล-
- บำรุงระบบประสาทและสมอง
- ปรับสมดุลการนอนให้หลับสนิทยิ่งขึ้น หลับลึก หลับง่ายกว่าที่เคย
- ป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
- เสริมความจำ บำรุงสมองขณะนอนหลับ เพิ่มประสิทธิภาพการจดจำให้ดียิ่งขึ้น
- เสริมสร้างสมาธิ
- ผ่อนคลายความเครียด
- บำรุงให้ร่างการแข็งแรง
- สารสกัดจากธรรมชาติ 100%
- ลดอาการปวดไมเกรน