fbpx Skip to content

สมาธิสั้น โรคที่คุณอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว

สมาธิสั้น โรคที่คุณอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว

เพื่อน ๆ เคยเป็นกันไหม รู้สึกเบื่อง่าย อึดอัดเวลานั่งเฉย ๆ นาน ๆ ไม่มีสมาธิหรือวอกแวกง่าย เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนและการแก้ไขปัญหา รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็น สมาธิสั้น โดยไม่รู้ตัวอยู่ก็ได้ หืมมม ! ฟังแบบนี้แล้วหลายคนก็เริ่มกังวล เพราะอาการที่ว่ามาเข้าข่ายหมด ใจเย็น ๆ ก่อนนะทุกคน มันยังมีอาการอื่น ๆ อีกที่จะบ่งบอกว่าคุณเป็นโรคสมาธิสั้นจริง ๆ เรามาลองทำความรู้จักกับโรคนี้และเช็คอาการของคุณไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลยค่ะ

ทำความรู้จัก สมาธิสั้นทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้น

ช่วงนี้เพื่อน ๆ อาจจะได้ยินคำว่า สมาธิสั้น กันบ่อย ๆ และคิดว่าโรคสมาธิสั้นก็แค่คนที่มีอาการไม่มีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเพียงแค่นั้น แต่จริง ๆ แล้วโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention deficit hyperactivity disorder) มีหลายอาการมากกว่านั้นและเป็นโรคที่ไม่ควรมองข้ามเลย

โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention deficit hyperactivity disorder) เป็นโรคที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสมาธิและพฤติกรรมมีการทำงานลดลง ทำให้มีปัญหากับการทำงานที่ต้องใช้สมาธิ อยู่นิ่งนาน ๆ ไม่ได้

คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเกิดเฉพาะในเด็กเท่านั้น ความจริงแล้วก็สามารถพบได้ในผู้ใหญ่เช่นกัน จากสถิติพบว่า เด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นนั้น เกือบ 50% จะมีอาการมาถึงตอนโต แต่บางรายอาจพึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ตอนโตแล้วก็ได้

โดยลักษณะที่สำคัญของคนที่เป็นโรคสมาธิสั้น คือ จะมีปัญหาเกี่ยวกับการวางแผน การแก้ไขปัญหา ไม่สามารถจัดการกับเวลาได้เมื่อต้องทำงานที่มีกำหนดเวลา ทำงานไม่เสร็จ เพราะมีความผิดปกติของสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับความคิด การวางแผน การบริหารจัดการชีวิตในเรื่องต่างๆ (Executive Functions-EF)

สาเหตุที่ทำให้เกิด สมาธิสั้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดโรคนี้ แต่โดยทั่วไปแล้ว ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้มีอยู่ 3 ปัจจัย ได้แก่

    1. ปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดภายในครอบครัวได้ถึงร้อยละ 75
    2. ปัจจัยทางด้านระบบประสาท พบการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณที่ทำงานเกี่ยวกับการคิด วางแผน การจัดลำดับสิ่งต่างๆ และการควบคุมตนเอง หรือการที่มีสารสำคัญในสมองบางตัวน้อยกว่าคนปกติทั่วไป
    3. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
    • ติดโทรศัพท์มือถือมากเกินไป
    • มารดามีประวัติสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์
    • เป็นเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ

อาการของโรคสมาธิสั้น

อาการของโรคสมาธิสั้น

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเข้าข่ายจะเป็นโรคสมาธิสั้น วันนี้มาลองเช็คอาการหรือสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังจะเป็นโรคสมาธิสั้นกันค่ะ

    • ไม่มีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า หรือสิ่งที่กำลังทำอยู่
    • ขี้หลงขี้ลืม
    • มีปัญหากับการจัดการทุกอย่างให้เป็นระบบและเป็นระเบียบ ขาดความสามารถในการบริหารจัดการเวลาที่ดี
    • หุนหันพลันแล่น ไม่ค่อยคิดก่อนทำและพูด ทำให้เกิดปัญหากับตนเองหรือคนรอบข้างบ่อยครั้ง
    • เบื่อง่าย รู้สึกอึดอัดเวลานั่งเฉย ๆ นาน ๆ 
    • วอกแวกง่าย จับใจความไม่ค่อยได้
    • พูดเก่ง พูดมาก
    • มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือนอนไม่หลับ
    • ทำงานผิดพลาดบ่อย
    • ผัดวันประกันพรุ่ง มาสายเป็นประจำ
    • อารมณ์ขึ้นลงเร็ว โกรธง่าย หายเร็ว

แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็ป้องกันโรคสมาธิสั้นได้

ป้องกันโรคสมาธิสั้น

ใครที่เข้าข่ายว่าจะเป็นโรคสมาธิสั้น หรือมีอาการตามที่บอกไปข้างต้น ไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะโรคสมาธิสั้นไม่ว่าจะในเด็กหรือในผู้ใหญ่สามารถควบคุมอาการและรักษาให้หายได้ แต่จะหายเร็วหรือช้า หรือจะกลับมาเป็นอีกหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดที่จะต้องให้ความใส่ใจ คอยดูแล ให้กำลังใจและความเข้าใจกับผู้ป่วยโรคนี้อย่างใกล้ชิด แต่หากเพื่อน ๆ คนไหนที่คิดว่ายังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น แต่ก็เริ่มมีอาการบ้างแล้ว อยากให้เพื่อน ๆ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันดู อาจเป็น 1 ในวิธีที่ช่วยป้องกันโรคสมาธิสั้นได้ ลองไปดูกันเลยว่าจะมีวิธีไหนที่เรานำมาฝากกันบ้างค่ะ

  • รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองให้ได้ ไม่ดีใจหรือเสียใจเร็วเกินไป
  • หมั่นสังเกตอารมณ์ของผู้อื่น รู้จักการรอคอย การรับฟัง และใส่ใจผู้อื่นให้มากขึ้น
  • มีการวางแผน จัดตารางเวลาทั้งในเรื่องของการทำงานและการใช้ชีวิต
  • ลดพฤติกรรมความใจร้อน หุนหันพลันแล่น เช่น การขับรถเร็วเกินไป อาจขับให้ช้าลงกว่าที่เคย
  • จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ
  • ทานอาหารให้เหมาะเหมาะสมและมีประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารประเภทน้ำตาล
  • ทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำและสมาธิ อย่างบีโคพลัส (Becoplus) ที่มีส่วนผสมจากสมุนไพรและธรรมชาติ 100% ช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำและสมาธิ ช่วยคลายกังวลทำให้นอนหลับง่ายขึ้นอีกด้วย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

บทความที่เกี่ยวข้อง