fbpx Skip to content

สมองเสื่อม หรือแค่ขี้ลืมกันแน่ ??

สมองเสื่อมหรือขี้ลืม

เพราะลืมบ่อย ลืมเก่ง จนไม่รู้แล้วว่าที่เป็นอยู่มันแค่อาการขี้หลงขี้ลืมของเราเอง หรือจริง ๆ แล้วเรากำลังมีภาวะ “สมองเสื่อม” กันแน่ แล้วแบบนี้มันจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหน อาการที่เป็นอยู่เรียกว่ารุนแรงหรือยัง แล้วทำยังไงถึงจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ วันนี้มาลองสังเกตุกันดู ว่าอาการของเพื่อน ๆ เข้าข่ายที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมแล้วหรือยัง ติดตามเรื่องราวทั้งหมดนี้ได้ในบทความนี้ค่ะ

ทำความรู้จักกับโรค “สมองเสื่อม” กันก่อน

สมองเสื่อมหรือขี้ลืม

หลายคนคงอยากทราบแล้วว่าอาการที่เป็นอยู่ จะใช่โรคสมองเสื่อมหรือไม่ อาการจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันก่อนดีกว่า

โรคสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) หรือภาวะสมองเสื่อม เกิดจากระบบการทำงานของสมองที่ค่อย ๆ เสื่อมลงหรือมีความบกพร่องจากการสูญเสียเซลล์สมองหลายส่วน เป็นภาวะที่สมองมีการทำงานแย่ลง จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป อาการที่พบได้บ่อย เช่น นึกคำพูดไม่ออก ไม่สามารถบวกลบเลขง่าย ๆ ได้ ความสามารถในการตัดสินใจหรือสื่อสารแย่ลง รวมถึงไม่สามารถทำอะไรที่เคยทำประจำได้ เช่น ติดกระดุมเสื้อเองไม่ค่อยได้ มีพฤติกรรมหรือบุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นต้น โดยอาการมักจะค่อยเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี

โรคสมองเสื่อมสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

– กลุ่มที่รักษาให้ดีขึ้นได้ เช่น โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ หรือเกิดจากการมีน้ำคั่งในโพรงสมองมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการมีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง

– กลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด

ทำไมถึงเป็นโรค “สมองเสื่อม” ได้

สมองเสื่อมหรือขี้ลืม

ไม่เพียงแค่อายุที่เพิ่มขึ้นหรือผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเป็นโรคสมองเสื่อม แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ สาเหตุหลัก ๆ มาจากความเสียหายหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสมองโดยตรง โดยโรคอัลไซเมอร์ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด และสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดเป็นสาเหตุรองลงมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสมองเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายกลับคืนเป็นปกติได้ และอาการมักเป็นมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นด้วย

สาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อย

    1. เกิดจากการเสื่อมสลายของเนื้อสมอง พบว่ามีสารที่เรียกว่า B-Amyloid สะสมอยู่ในเซลล์สมอง ทำให้เซลล์สมองตาย และไม่มีเซลล์สมองที่เกิดใหม่ขึ้นมาทดแทน ทำให้สมองส่วนที่เหลืออยู่ไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนเดิม เราเรียกความผิดปกติแบบนี้ว่าโรคอัลไซเมอร์
    2. ภาวะสมองเสื่อมที่มาจากโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด มักจะเกิดในผู้ป่วยเป็นโรคสมองขาดเลือด ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงระยะยาว หรือโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว
    3. เกิดจากการติดเชื้อในสมอง ถ้ามีการติดเชื้อในสมองจะเกิดการอักเสบ และทำให้เซลล์สมองบางส่วนตาย เช่น โรคซิฟิลิส HIV วัณโรค และ ไวรัสบางชนิด โรควัวบ้า
    4. เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน B1,B12 และ Folic Acid
    5. เกิดจากการแปรปรวนของระบบเมตาบอลิกของร่างกาย เช่น การทำงานของต่อมไร้ท่อบางชนิดผิดปกติไป โดยเฉพาะต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากหรือน้อยเกินไป
    6. การกระทบกระเทือนที่สมอง การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง
    7. เนื้องอกในสมอง
    8. โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาในการเคลื่อนไหว และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ

อาการแบบนี้ ใช่โรคสมองเสื่อมหรือไม่

สมองเสื่อมหรือขี้ลืม

    • ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง
    • สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร
    • ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี
    • บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้
    • พูดหรือถามเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ภายในระยะเวลาสั้น ๆ
    • ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดมาไม่นาน
    • หาของไม่เจอ
    • ลืมนัดสำคัญบ่อย ๆ
    • สับสนเรื่องทิศทาง หลงทางในที่คุ้นเคย
    • นึกคำพูดยากขึ้นหรือใช้คำผิดบ่อย ๆ
    • บุคลิก และอารมณ์เปลี่ยนไป เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุ
    • บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว การใช้รีโมทโทรทัศน์ การทำกับข้าว

แนวทางการป้องกันและการรักษาโรคสมองเสื่อม

สมองเสื่อมหรือขี้ลืม

การรักษา

    1.  รักษาตามสาเหตุ หากสรุปว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ แม้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาแบบประคับประคองโดยการใช้ยาและการไม่ใช้ยามีส่วนสำคัญอย่างมากในการเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วยและญาติ รวมถึงการคุยปรึกษากับแพทย์ยังสามารถทำให้ผู้ดูแลรับมือกับอาการต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องและมั่นใจ
    2.  รักษาโดยใช้เครื่องมือช่วยกระตุ้นหรือฝึกสมองที่เริ่มเสื่อม (cognitive training)

แนวทางการป้องกันโรคสมองเสื่อม

    1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
    2. ระวังการให้สารที่อาจเกิดอันตรายกับสมอง เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาที่ไม่จำเป็น
    3. ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น งดสูบบุหรี่
    4. การฝึกสมองและพยายามทำกิจกรรมที่ได้ใช้สมองอย่างสม่ำเสมอ หรือ กิจกรรมทางสังคม อย่างน้อยให้มีกิจกรรมกับคนในครอบครัว
    5. การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
    6. ตรวจเช็คสุขภาพปีละ 1-2 ครั้ง
    7. ระมัดระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ศีรษะ
    8. หลีกเลี่ยงความเครียด
    9. รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำ อย่าง Becoplus (บีโคพลัส) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มพลังสมอง ที่ดูแลคุณและครอบครัว ทั้งวัยรุ่น วัยเรียน วัยทำงาน จนถึงผู้สูงวัย ช่วยปรับสมดุลการนอนหลับ บำรุงสมอง บำรุงระบบประสาท ช่วยเสริมสร้างความจำและสมาธิ ช่วยคลายกังวล และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติแท้ 100% ที่เราคัดสรรมาอย่างดีเพื่อคุณ

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามเราได้ที่ Facebook Fan page : Becoplus

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

สินค้าล่าสุด