fbpx Skip to content

แพนิคหรือขี้ตกใจ! อาการแบบไหนเรียกแพนิค?

แพนิค

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านเราเริ่มได้ยินอาการ แพนิค กันบ่อยขึ้น ซึ่งภาวะนี้เกิดมาจากความกลัวทำให้รู้สึกมีความวิตกกังวลอย่างรุนแรง และเป็นสิ่งเกิดขึ้นโดยที่อาจไม่รู้ตัว ไม่ทราบสาเหตุว่าอาการดังกล่าวเกิดจากอะไร ดังนั้นแล้วเรามาทำความรู้จักกับโรคแพนิคกันให้มากขึ้นดีกว่า

แพนิค

แพนิค คืออะไรและมีอาการอย่างไร

แพนิคเป็นภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้ เป็น 1 ใน 5 ของโรคจิตเวชซึ่งอยู่ในกลุ่ม “โรควิตกกังวล” ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรงทั้งที่ตัวเองไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มักจะเกิดขึ้นเป็นเวลา 10-20 นาที หรือในบางรายอาจเกิดอาการชั่วโมงได้ จึงอาจส่งผลต่อความมั่นใจในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

อาการแพนิคเกิดจากฮอร์โมนลดหรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลาย ๆ ส่วนทำงานผิดปกติ หรืออาจเกิดได้จากการถูกกระทบกระเทือนทางจิตใจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสียสมดุลของสารเคมีในสมองได้ จึงทำให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกันโดยแพนิคจะมีอาการดังนี้

  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติระหว่างเกิดความกลัว
  • หายใจไม่ออก หายใจถี่ หายใจติดขัดรู้สึกเหมือนขาดอากาศ
  • หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนทำให้ร่างกายขยับไม่ได้
  • เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ ปวดท้อง
  • มือสั่น หรือตัวสั่นแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ รวมทั้งมีเหงื่อออกตามร่างกาย
  • รู้สึกหอบและเจ็บหน้าอก
  • รู้สึกร้อนวูบวาบ หรือหนาวขึ้นมาอย่างกะทันหัน
  • เกิดอาการเหน็บที่นิ้วมือหรือเท้า
  • วิตกกังวลหรือหวาดกลัวว่าตนเองจะเสียชีวิต
  • กังวลว่าจะมีเหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้น
  • หวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์อันตรายที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวในอดีต
  • รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆในชีวิตได้ รวมทั้งกลัวว่าตัวเองจะเป็นบ้าหรือเสียสติ

สาเหตุของอาการ แพนิค

สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

สาเหตุที่มาจากสุขภาพกาย

  • ความผิดปกติของสมอง เกิดจากสารสื่อประสาทหรือเคมีในสมองไม่สมดุลที่อาจทำให้เกิดโรคแพนิคได้ เช่นเดียวกับ โรคซึมเศร้า และอาการทางจิตอื่น ๆ
  • พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือญาติที่สายเลือดใกล้ชิดเป็นโรคแพนิค หรือกลุ่มโรคอาการทางจิตอื่น ๆ ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแพนิคมากขึ้น
  • การได้รับสารเคมี ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่ใช้สารเสพติด อาจมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคแพนิคได้มากกว่าคนปกติ

สาเหตุจากสุขภาพจิต

  • เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่กระทบกระเทือนจิตใจหรือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ในชีวิต เช่น การสูญเสียคนรัก การต้องจากไกลบ้านเพื่อไปศึกษาต่อ การแต่งงานหรือการมีลูกคนแรก เป็นต้น ทำให้เกิดความเครียดและในระยะยาวอาจนำไปสู่การเกิดอาการของโรคแพนิคได้

แพนิค

วิธีรับมือกับอาการแพนิค

นอกจากการรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติหรือการตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกายแล้ว จะต้องมีการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปด้วยอย่างการปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วย รวมถึงคนรอบข้างควรทำความเข้าใจกับโรคนี้และให้กำลังใจผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำโดยดร. แคลร์ วีกส์ แพทย์ทางเวชปฏิบัติทั่วไปชาวออสเตรเลียกับการรับมือกับอาการแพนิคไว้ดังนี้

  • เผชิญกับอาการแพนิค อย่าพยายามหลีกเลี่ยงแต่ควรมีความพยายามเรียนรู้และรับมือกับอาการแพนิค ไม่ปล่อยให้ความวิตกกังวลเข้ามาควบคุมชีวิตแม้ว่าจะยังมีความรู้สึกวิตกกังวลเกิดขึ้น ซึ่งสมองจะเรียนรู้ที่จะหยุดอาการแพนิคและอาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ หายไปอย่างช้า ๆ จนกระทั่งหายไปทั้งหมดในที่สุด
  • การยอมรับอาการแพนิค โดยยอมรับว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการการทำงานของระบบประสาท ทำให้มีการหลั่งอะดรีนาลีนกระตุ้นการทำงานในระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำให้อาการดังกล่าวตามมา ซึ่งอาการแพนิคจะรุนแรงมากขึ้นก็ต่อเมื่อเกิดความกลัวเพิ่มมากขึ้น แต่ในทางกลับกันหากผ่อนคลาย กล้าเผชิญและยอมรับอาการแพนิคนั้นกลับไม่ทำให้อาการต่าง ๆ รุนแรงมากขึ้น
  • ไม่โฟกัสอยู่กับอาการแพนิค เป็นการไม่ต่อสู้หรือพยายามควบคุมอาการ หรือความกลัวเพราะยิ่งพยายามก็ยิ่งทำให้อะดรีนาลีนหลั่งออกมามากขึ้น จึงมีอาการมากขึ้นและเป็นนานขึ้น สิ่งที่ต้องทำก็คือการฝึกให้อยู่นิ่ง ๆ อย่างสบาย ๆ ไม่ต้องทำอะไรเลยแม้กระทั่งการพยายามบังคับทำให้ตัวเองผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ ค่อย ๆ ผ่อนคลายร่างกาย
  • การปล่อยให้เวลาช่วยเยียวยาให้อาการดีขึ้น และเข้าใจว่าความรู้สึกไวต่อสิ่งเร้าเป็นกระบวนการทำงานของสารเคมีในสมอง ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับสมดุลของสารเคมีให้เข้าสู่ภาวะปกติ
  • ลองทำอีกครั้ง เมื่อมีอาการต่าง ๆ ดีขึ้นแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัวและลองทำกิจกรรมที่เคยหลีกเลี่ยงโดยเริ่มทีละน้อยแต่สม่ำเสมอ

แพนิค

อาหารที่ผู้ป่วยแพนิคควรเลี่ยง

อาหารบางชนิดมีฤทธฺ์กระตุ้นสารในสมองให้เกิดความวิตกกังวล และทำให้อาการของโรคแพนิคกำเริบได้ ซึ่งอาหารที่ผู้ป่วยแพนิคควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  • เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะการได้รับคาเฟอีนอาจทำให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่าย และอาจทำให้ผู้ป่วยโรคแพนิคมีอาการกำเริบขึ้นได้
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดได้เพียงชั่วคราว แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นก็คือความวิตกกังวล กระสับกระส่าย และนอนไม่หลับมากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย
  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง อย่างลูกอมขนมหวานอาจส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียหลังจากรับประทานได้ เนื่องจากของหวานจะไปเพิ่มน้ำตาลในเลือด ร่างกายจึงต้องปล่อยอินซูลินออกมา เพื่อปรับระดับน้ำตาลให้ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นภาวะน้ำตาลต่ำจนทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและกระตุ้นให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงในที่สุด
  • อาหารแปรรูปและครีมเทียม เช่น ไส้กรอก เค้ก อาหารทอด และอาหารมัน ๆ ทั้งหลาย ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวลได้เช่นกัน

แม้ว่าอาการแพนิคอาจไม่ได้อันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อจิตใจและการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ดังนั้นควรหมั่นสังเกตตนเองและคนรอบตัวว่ามีอาการดังกล่าวหรือไม่ และควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียดเพราะจะนำไปสู่การเกิดอาการแพนิคได้ หรือผ่อนคลายความเครียด วิตกกังวลด้วย Becoplus ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รวมประโยชน์ในเรื่องของการบำรุงสมอง นอนหลับ คลายความเครียด เสริมความจำไว้ในหนึงเดียว ด้วยสารสกัดธรรมชาติกว่า 11 ชนิด ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีหรือยานอนหลับ จึงสามารถทานได้ทั้งครอบครัวตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงผู้สูงวัย (ทานได้ตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป)

Becoplus ประโยชน์อัดแน่นใน 1 แคปซูล

Becoplus - เสริมความจำ ป้องกันอัลไซเมอร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

thThai