fbpx Skip to content

3 ความเสี่ยงใน “ผู้สูงวัย”

3 ความเสี่ยงในผู้สูงวัย

จากงานวิจัยในหลายสถาบันพบว่า ในอีกไม่ช้าประเทศไทยและทั่วทั้งโลกจะเริ่มเข้าสู่สังคม “ผู้สูงวัย” อย่างเต็มตัว นั้นหมายความว่าจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าประชากรในช่วงวัยหนุ่มสาว แล้วเราจะเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงวัยที่บ้านหรือให้ตัวคุณเองในอนาคตอย่างไรดีล่ะ โดยเฉพาะเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่ไม่ว่ายังไงก็ต้องเจอกันทุกคน มาเตรียมพร้อมรับมือก่อนจะสายเกินแก้กับ 3 โรคยอดฮิตที่มักเกิดในผู้สูงวัยที่เรานำมาฝากเพื่อน ๆ วันนี้กันค่ะ จะมีโรคอะไรบ้าง อย่ารอช้า ไปดูกันเลย

สังคม “ผู้สูงวัย” มีอะไรต้องกังวล

3 ความเสี่ยงในผู้สูงวัย

ปัจจุบันเรามักได้ยินคำว่า สังคมผู้สูงวัย หรือสังคมสูงอายุ กันมากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าความหมายของคำนี้คืออะไร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำนี้กันก่อนดีกว่าค่ะ

สังคมสูงอายุ (Aged Society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 10 ของ ประชากรทั้งประเทศ หรือเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมดนั้นเอง จะเห็นว่าจริง ๆ  แล้วคนที่เข้าสู่สังคมสูงวัยอายุน้อยกว่าที่คิด รวมถึงสังคมสูงวัยไม่ได้เป็นอย่างที่เราจินตนาการกันไว้เลย บางคนคิดว่าสังคมสูงวัยคือสังคมของคนช่วงอายุ 70 – 80 ปีขึ้นไป จะมีแต่ผู้ใหญ่ผมขาว เดินโดยใช้ไม้เท้าพยุง หรือบางคนอาจจินตนาการถึงคุณยายเคี้ยวหมากแบบสมัยก่อนเลยก็มี แต่ปัจจุบันแค่คุณมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่ว่าคุณจะดูมีอายุหรือไม่ ก็จะเรียกว่าเข้าสู่สังคมสูงวัยกันแล้วค่ะ ซึ่งเมื่อหลายคนเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว แน่นอนว่าจะเริ่มมีความกังวลในเรื่องต่าง ๆ ตามมาอย่างแน่นอน ทั้งเรื่องของการดำเนินชีวิต ค่าใช้จ่าย การงาน ครอบครัว รวมถึงปัญหาสุขภาพ

มีรายงานวิจัย Getting Older – Our Aging World, 2019 จากยิปซอสส์ (Ipsos) ได้ทำการสำรวจและวัจัยเกี่ยวกับความกังวลของผู้สูงวัยทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย พบว่าส่วนใหญ่จะมีความกังวลใจในเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บเป็นหลัก ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ เพราะเมื่อยิ่งมีอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะอ่อนแอลง ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย หรือเกิดโรคบางโรคที่มักเกิดขึ้นเฉพาะในผู้สูงวัยเท่านั้น โดยความกังวล 5 อันดับแรกมีดังนี้

51% ไม่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่เคยทำได้เหมือนเดิม

41% กลัวการเจ็บป่วย

34% ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือขยับร่างกายได้

32% มีเงินไม่พอในการดำรงชีวิต

27% สูญเสียความทรงจำ

ซึ่งนี่เป็นเพียง 1 ใน 5 อันดับแรกจากการสำรวจเท่านั้น ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ผู้สูงวัยมีความกังวลอยู่อีก แต่เมื่อเราทราบถึงความกังวลเหล่านั้นแล้ว ก็ถือเป็นเรื่องดีที่เราจะได้มีโอกาสป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคภัยที่ผู้สูงวัยกังวลได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยในบทความนี้ เราจะขอพูดถึง 3 โรคยอดฮิตที่เกิดขึ้นกับผู้สูงวัยไทยเป็นอันดับต้น ๆ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

“ภาวะสมองเสื่อม” ใน ผู้สูงวัย

3 ความเสี่ยงในผู้สูงวัย

มาเริ่มกันที่โรคยอดฮิตที่สูงวัยกังวลมากที่สุด นั้นก็คือ ภาวะสมองเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อม ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้นจนน่าเป็นกังวล โดยสาเหตุของโรคนี้ก็เกิดได้จากหลายปัจจัย มาทำความรู้จักโรคสมองเสื่อมกันเถอะ

โรคสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) หรือภาวะสมองเสื่อม เกิดจากระบบการทำงานของสมองที่ค่อย ๆ เสื่อมลงหรือมีความบกพร่องจากการสูญเสียเซลล์สมองหลายส่วน เป็นภาวะที่สมองมีการทำงานแย่ลง จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป อาการที่พบได้บ่อย เช่น นึกคำพูดไม่ออก ไม่สามารถบวกลบเลขง่าย ๆ ได้ ความสามารถในการตัดสินใจหรือสื่อสารแย่ลง รวมถึงไม่สามารถทำอะไรที่เคยทำประจำได้ เช่น ติดกระดุมเสื้อเองไม่ค่อยได้ มีพฤติกรรมหรือบุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นต้น โดยอาการมักจะค่อยเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมนั้นมีหลายอย่าง หลายปัจจัย เช่น เกิดจากการเป็นเนื้องอกในสมอง, เป็นผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน, มีภาวะอัลไซเมอร์ หรือการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น

อาการเบื้องต้นของโรคสมองเสื่อม

    • ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง
    • สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร
    • ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี
    • บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้
    • บกพร่องในการบริหารจัดการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อย ๆ
    • บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้
    • บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง

“ซึมเศร้า” วัยไหนก็เป็นได้

3 ความเสี่ยงในผู้สูงวัย

มาถึงโรคยอดฮิตที่ในปัจจุบันเป็นกันแทบทุกวัยอย่าง “โรคซึมเศร้า(Depression) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นระยะยาวต่างจากความเครียด ปกติแล้วผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการอื่น ๆ เป็นหลัก และจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือกิจวัตรประจำวันของคน ๆ นั้น เช่น คนที่ต้องออกไปทำงานข้างนอกอาจมีการขาดงานบ่อย ๆ หรือทำงานผิดพลาด ไม่มีสมาธิกับงานตรงหน้า ทำงานออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือไม่อยากทำงานอีกเลย ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าเป็นคนอ่อนแอ หรือไม่สู้ปัญหา แต่มันเป็นเพราะตัวโรคนี้ที่ทำให้เค้ามีอาการเหล่านั้น หากได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและเหมาะสม ก็จะทำให้อาการดีขึ้นหรือหายขาดได้

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้านั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยเดียว แต่เกิดขึ้นจากหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน เช่น กรรมพันธุ์ ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง รวมถึงลักษณะนิสัยที่บางคนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้าอยู่แล้ว

อาการหลัก ๆ ของโรคซึมเศร้า เช่น แยกตัวออกจากสังคม หมดพลัง ไม่มีแรง ไร้แรงบันดาลใจ รู้สึกแย่กับตัวเองหรือรู้สึกผิดตลอดเวลา บางครั้งถ้ารุนแรงมาก ๆ อาจถึงขั้นคิดอยากฆ่าตัวตายเลยทีเดียว

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาด้วยยาหลายชนิด และการรักษาทางจิตใจ โดยแต่ละคนจะตอบสนองต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน การรักษาด้วยยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นได้เร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมีภูมิคุ้มกัน ที่จะสามารถต่อสู้กับปัญหาที่เข้ามาได้ดีกว่าเดิม 

“กระดูกพรุน” เรื่องใกล้ตัว ที่ใคร ๆ ก็อยากให้ไกลตัว

3 ความเสี่ยงในผู้สูงวัย

โรคกระดูกพรุนชื่อนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูหรือไม่ค่อยถูกพูดถึงสักเท่าไหร่ แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้เป็นภัยเงียบที่ใกล้ตัวผู้สูงวัยอย่างมากเลยค่ะ โดยโรคนี้มักพบได้บ่อยในผู้สูงวัย มักเกิดกับสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป 

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่ความหนาแน่นของมวลของกระดูกลดน้อยลง จนทำให้กระดูกเสื่อม และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ซึ่งบริเวณการหักของกระดูกที่พบได้บ่อย คือ สะโพก ข้อมือ และสันหลัง หากเกิดอุบัติเหตุแล้วกระดูกหัก ส่วนนั้นอาจไม่สามารถทำงานหรือเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ยิ่งเกิดในผู้สูงวัยจะเป็นอันตรายและรักษาได้ยาก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนบางรายถึงขั้นเสียชีวิต

โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนหลัก ๆ คือ

    • มักเกิดในเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน มากกว่าเพศชาย
    • กรรมพันธุ์
    • การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
    • ออกกำลังกายน้อยเกินไป

ซึ่งผู้ที่มีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ส่วนใหญ่มักจะเริ่มมีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อม ส่วนสูงเริ่มลดลง แขน, กระดูกข้อมือ, สะโพกหรือกระดูกสันหลังแตกหักได้ง่าย 

ส่วนการรักษาโรคกระดูกพรุนในปัจจุบันมี 3 วิธีนั้นก็คือ การรักษาด้วยยา การผ่าตัดและการกายภาพบำบัด

โรคกระดูกพรุนป้องกันได้ง่าย ๆ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียม ออกกำลัง หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา, การสูบบุหรี่และการใช้ยาสเตียรอยด์ เพียงเท่านี้คุณก็จะห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้ง่าย ๆ แล้วค่ะ

เมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ความกังวลในเรื่องต่างๆ ก็มีเพิ่มมากขึ้น ควรเตรียมพร้อมรับมือไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บหรือการใช้ชีวิตในแต่ละวัน โดยเฉพาะอาการเกี่ยวกับสมอง ความจำ โรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมายที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus (บีโคพลัส) ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากธรรมชาติ 100% ช่วยทั้งในเรื่องการนอนหลับและเสริมความจำ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ให้คุณก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยได้อย่างมีคุณภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง