ง่วงนอนแต่ก็นอนไม่หลับซักทีไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ซะแล้ว นั่นอาจเป็นอาการของ “โรคนอนไม่หลับ” (Insomnia) ซึ่งอาการนี้มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายซะด้วย ใครที่มีอาการนอนไม่หลับอย่าปล่อยผ่านเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
ปกติคนเรามีชั่วโมงการนอนที่แตกต่างกันตามช่วงอายุ โดยจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัยเป็นดังนี้
-
- เด็กแรกเกิด: 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
- อายุ 1 ปี: 14 ชั่วโมงต่อวัน
- อายุ 2 ปี: 12-14 ชั่วโมงต่อวัน
- อายุ 3-5 ปี: 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
- อายุ 6-13 ปี: 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
- อายุ 14-17 ปี: 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
- ผู้ใหญ่: 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
ส่วนผู้สูงอายุจะมีชั่วโมงการนอนที่สั้นลง เพราะร่างกายสามารถผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดน้อยลง
มารู้จัก “โรคนอนไม่หลับ” (Insomnia)
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คือ โรคที่มีความผิดปกติในวงจรการหลับ โดยสามารถแบ่งเป็นชนิดของการนอนไม่หลับ 3 ชนิดใหญ่คือ
ชนิดที่1 หลับยาก : จะมีอาการหลับได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลานานเป็นชั่วโมง
ชนิดที่ 2 หลับไม่ต่อเนื่อง : มักตื่นกลางดึก เช่น หัวค่ำอาจพอหลับได้ แต่ไม่นานก็จะตื่น ในบางคนตื่นแล้วไม่สามารถหลับอีกไม่ได้
ชนิดที่ 3 หลับ ๆ ตื่น ๆ : จะมีอาการคล้ายไม่ได้หลับเลยทั้งคืน เพียงแต่เคลิ้ม ๆ ไปเป็นพัก ๆ เท่านั้น หรือรู้สึกตัวตลอดเวลา
ซึ่งผู้เป็นโรคนอนไม่หลับอาจจะมีอาการเพียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีหลายข้อรวมกันก็ได้ และเมื่อมีอาการนอนไม่หลับก็จะส่งผลกระทบในตอนกลางวันทำให้รู้สึกอ่อนแรง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไม่มีสมาธิ ง่วงซึม เป็นต้น
โรคนอนไม่หลับส่งผลกระทบอย่างไร
-
- คุณภาพชีวิตที่ดีลดลง
- ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
- ความสามารถในการดำเนินชีวิตลดลง
- อาจเกิดประสบอุบัติเหตุได้ง่าย ซึ่งมีรายงานว่า หากขับรถ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.5 เท่า
- มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เฉื่อยชา รู้สึกไม่สดชื่น หงุดหงิด ขาดสมาธิ เป็นต้น
- การนอนไม่หลับในผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคทางจิตเวชมีรายงานพบว่าอาจเสี่ยงต่อการเป็นซ้ำอีก รวมถึงเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าด้วย
สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
-
- จากสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสงสว่าง เสียงรบกวนจากภายนอก โทรทัศน์ พื้นที่นอนหรือการนอนต่างที่ ทำให้หลับยาก
- จากร่างกาย เช่น อาการเจ็บป่วย ไม่สบายตัว เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ มีปัญหาเรื่องระบบการหายใจ มีอาการไอ
- จากจิตใจ เช่น ความเครียด อาการวิตกกังวล แรงกดดัน หรือมีอาการซึมเศร้า
- จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิดที่อาจส่งผลเกี่ยวกับการนอนหลับ รวมไปถึงงานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่สม่ำเสมอ เช่น พยาบาล ยาม เป็นต้น
การรักษาโรคนอนไม่หลับ
วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของการนอนไม่หลับในแต่ละบุคคล หากเกิดจากอุปนิสัยการนอน แพทย์จะให้คำแนะนำการนอนที่ถูกต้อง แต่หากเกิดจากโรคทางจิตใจหรือระบบประสาท เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ โรคประสาทตื่นตัวผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วย
วิธีป้องกันอาการนอนไม่หลับ
1. ตื่นนอนให้เป็นเวลาและปรับพฤติกรรมการนอนที่ไม่เป็นเวลา ไม่งีบหลับระหว่างวัน ไม่กดดันตัวเองให้นอนหลับ เพราะอาจส่งผลให้ตัวเองเกิดความวิตกกังวล
2. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้ประสาทตื่นตัวหลังมื้อเที่ยง เช่น กาแฟ หรือชา และสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้หลับยาก
3. สร้างสถานการณ์ให้เตียงนอนคือการหลับเท่านั้น ดังนั้นการทำกิจกรรมอื่น ๆ ให้ทำนอกเตียง เคล็ดลับ คือ เมื่อรู้สึกง่วงแล้วเท่านั้นถึงลงมานอนที่เตียง
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะช่วยให้นอนหลับได้สบายยิ่งขึ้นหลีกเลี่ยงการออกกำลังหนักก่อนนอนเพราะอาจทำให้นอนหลับได้ยาก
5. พยายามหลับให้ได้ด้วยตัวเอง หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ
มาป้องกันและปรับสมดุลการนอนด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus สกัดจากสารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ
-
- มีส่วนผสมของ Bacopa ออแกนิคจากประเทศญี่ปุ่น ช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำ ลดการเกิดอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุบำรุงกำลัง และหัวใจ แถมยังช่วยให้หลับสนิท
- มี เชอร์รี่ทาร์ต ที่เป็นแหล่งสารเมลาโทนิน ช่วยให้นอนหลับสนิทมากขึ้น
- มี L-Theanine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจากชาเขียว ช่วยลดสภาวะเครียด ผ่อนคลายร่างกาย และช่วยเพิ่มสมาธิ
- มี วิตามินบี 2 3 5 6
- มี โกจิเบอร์รี่ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และยังช่วยบำรุงสายตา
- มีใบกิงโกะ (แป๊ะก๊วย) ช่วยบำรุงสมอง และเสริมความจำ
Becoplus ช่วยให้คุณหลับได้เต็มอิ่ม และหลับลึกกว่าที่เคย เมื่อร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ สุขภาพที่ดีก็จะตามมา 💪