“สมอง” สำคัญอย่างไร
สมอง เป็นอวัยวะในร่างกายที่สำคัญอย่างมาก เปรียบเสมือนกองบัญชาการควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังเกี่ยวข้องกับการรับรู้ อารมณ์ ความจำ การเคลื่อนไหวและความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้อีกด้วย
แต่เช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นสมองของคนเราย่อมมีการเสื่อมถอยไปตามวัย ทำให้ประสิทธิภาพในการคิดการจำ และทำสิ่งต่าง ๆ ก็จะลดน้อยลง การดูแลสมองให้มีสุขภาพดีตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคต่าง ๆ รวมถึงโรคอัลไซเมอร์ในวัยชราและช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีตั้งแต่วันนี้ด้วย
เคล็ดลับการดูแล “สมอง” ให้ฟิตอยู่ตลอด
ใครอยากให้สมองสดใส แข็งแรงตลอดเวลา ห้ามพลาดเคล็ดลับดี ๆ ที่เรานำมาบอกต่อในวันนี้ บอกเลยว่าแต่ละวิธีทำได้ง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้
-
- พักผ่อนให้เพียงพอ
สมองจำเป็นต้องได้รับการพักผ่อนเช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอจะส่งผลต่อการทำงานของสมอง ทั้งในด้านการใช้ความคิดและการตื่นตัวของสมอง
-
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพราะคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำนั้น จะช่วยให้สมองตื่นตัวและทำให้ความจำดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ แนะนำให้ออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก เพราะช่วยให้ร่างกายสามารถใช้ออกซิเจนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองดีขึ้น และกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมองใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้นและช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ประสาทสมองในผู้สูงอายุ หรือจะออกกำลังกายด้วยการเสริมกำลังกล้ามเนื้อ หรือจะออกกำลังกายที่เน้นการสร้างสมดุลของร่างกาย เช่น รำมวยจีน โยคะ และการยืนขาเดียว เป็นต้น
-
- ดูแลโภชนาการ
ร่างกายควรได้รับสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง และทานอาหารเช้าทุกวัน เพราะจะเป็นตัวช่วยในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของสมอง
-
- บริหารสมอง
การใช้สมองในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รวมถึงเกมที่ใช้สมอง เช่น หมากกระดาน เกมคำศัพท์ เกมประเภทตัวเลข ล้วนเป็นการบริหารสมองที่ดีทั้งสิ้น ซึ่งการบริหารสมองนั้นมีหลายวิธี วันนี้เรามาลองดูกันว่ามีวิธีไหนที่ช่วยบริหารสมองเราได้บ้าง
- ท่องคำศัพท์วันละ 10 คำ หรือ จำเบอร์โทรศัพท์แทนการบันทึกไว้ในสมาร์ทโฟน
- ทำสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ ทำงานศิลปะ ดนตรี เต้นรำ เรียนทำอาหาร ตลอดจนทำงานอดิเรกแปลก ๆ ใหม่ ๆ เพราะการทำสิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์
- เล่นเกม เช่น หมากฮอส หมากรุก ซูโดกุ ปริศนาอักษรไขว้ เกมส์ต่อคำศัพท์
- อ่านหนังสือพิมพ์ ติดตามข่าวสาร หรือดูรายการโทรทัศน์ที่ให้ความรู้
- บริหารสมองด้วยกิจกรรม Brain Gym ซึ่งเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายง่าย ๆ ที่ช่วยให้สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาทำงานประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ช่วยให้สมองตื่นตัว ช่วยเรื่องการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว และยังช่วยผ่อนคลายเครียด รวมทั้งทำให้มีสมาธิพร้อมที่จะเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรม Brain Gym พัฒนาขึ้นโดย ดร. พอล เดนนิสัน นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Over Movement) ช่วยให้สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น
- วิ่งเหยาะ ๆ อยู่กับที่ช้า ๆ
- นั่งชันเข่า มือสองข้างประสานกันที่ท้ายทอย เอียงข้อศอกซ้ายแตะที่หัวเข่าขวา ยกข้อศอกซ้ายกลับไปที่เดิม เปลี่ยนเป็นเอียงข้อศอกขวาแตะที่หัวเข่าซ้าย
- ก้าวเท้าขวาวางหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปด้านหน้า มือคว่ำลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว ตรงข้ามกับขาที่ก้าวออกไป แกว่งแขนทั้งสองข้างกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับชักเท้าขวาวางที่เดิม แล้วเอามือลง สลับเท้าทำซ้ำอีกครั้ง
- กำมือสองข้าง ยื่นแขนตรงไปข้างหน้า ให้แขนคู่กัน เคลื่อนแขนทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน หมุนเป็นวงกลมสองวงต่อกันคล้ายเลข 8 ในแนวนอนทำกิจกรรมที่ใช้มือทั้งสองข้าง เป็นการฝึกสมองให้ทำงานประสานกัน
กลุ่มที่ 2 การยืดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (Lengthening Movement) ช่วยผ่อนคลายความเครียดของสมองส่วนหน้า และส่วนหลัง ทำให้มีสมาธิในการเรียนรู้ และการทำงานมากขึ้น เช่น ท่าโยคะต่าง ๆ
กลุ่มที่ 3 การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น (Energizing Movement) เป็นท่าที่จะช่วยกระตุ้นการทำงานของกระแสประสาท เพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น เช่น
- ใช้นิ้วชี้นวดขมับเบา ๆ ทั้งสองข้างวนเป็นวงกลม
- กดจุดตำแหน่งต่าง ๆ ในร่างกายที่จะกระตุ้นการทำงานของสมอง เช่น ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางที่ใต้คาง อีกมืออยู่ที่ตำแหน่งสะดือ หายใจเข้า-ออก ช้า ๆ ลึก ๆ สายตามองจากไกลเข้ามาใกล้ เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน
- นวดใบหูด้านนอกเบา ๆ ทั้งสองข้าง แล้วใช้มือปิดหูเบา ๆ ทำช้า ๆ หลาย ๆครั้ง
- ใช้มือทั้งสองเคาะที่ตำแหน่งกระดูกหน้าอก โดยสลับมือกันเคาะ แต่ต้องเคาะเบา ๆ
กลุ่มที่ 4 ท่าบริหารร่างกายง่ายๆ (Useful) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ ของสมอง เช่น การจดจำ การมองเห็น การได้ยิน และช่วยลดความเครียดได้ เช่น
- วางมือซ้อนกันที่ด้านหน้า หายใจเข้าช้า ๆ ลึก ๆ ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ คว่ำมือลง หายใจออกช้า ๆ แล้ววาดมือออกเป็นวงกลม แล้ววางมือไว้ที่เดิม
- ใช้มือทั้งสองปิดตาที่ลืมอยู่เบา ๆ ให้สนิท จนมองเห็นเป็นสีดำมืดสนิทสักพัก แล้วค่อย ๆ เอามือออก เริ่มปิดตาใหม่
- ใช้นิ้วมือทั้งสองข้างเคาะเบา ๆ ทั่วศีรษะ จากกลางศีรษะออกมา ด้านขวาและซ้ายพร้อม ๆ กัน
การบริหารสมอง ควรทำแต่ละท่าซ้ำประมาณ 4-6 ครั้ง ขณะทำให้หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ ไม่ควรกลั้นลมหายใจ และควรดื่มน้ำวันละ 8-12 แก้ว ช่วยให้สมองทำงานได้ดี เพราะสมองมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 85% การขาดน้ำจะทำให้สมองทำงานไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้สมองสามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
-
- ทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus (บีโคพลัส) ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ 100% เช่น พรมมิ ใบแปะก๊วย โกจิเบอร์รี่ วิตามินบี ช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำ ป้องกันอัลไซเมอร์ และยังช่วยให้นอนหลับได้ดีกว่าเดิม ไม่ตื่นกลางดึก ตื่นเช้ามาสดชื่นไม่มึน เหมาะสำหรับวัยเรียน วัยทำงานและผู้สูงวัย ใครที่กำลังมองหาตัวช่วยดี ๆ ในการดูแลสมองของตัวเอง อย่าลืมเลือก Becoplus นะคะ
อย่าลืมดูแลสมองของคุณให้ไบร์ทกว่าที่เคย สดใสในทุก ๆ วัน ด้วยผลิตภัณฑ์ดี ๆ จาก Beauraz