ความลับที่ซ่อนอยู่ของ “แปะก๊วย”
ใครจะไปคิดว่า แปะก๊วย ที่เรารู้จักหรือเห็นกันบ่อยๆ จะมีประโยชน์มากมายต่อร่างกายและสมองขนาดนี้ มีประวัติการใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณ ในหลากหลายประเทศ วันนี้เรารวบรวมความรู้เกี่ยวกับใบแปะก๊วยมาให้ทุกคนได้รู้จักกันมากกว่าเดิม
ถิ่นกำเนิดของ “แปะก๊วย”
แปะก๊วยมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เชื่อกันว่าเป็นพืชที่เก่าแก่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ที่หลงเหลืออยู่ในประเทศจีน ซึ่งเป็นพืชที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ ต่อมามีการนำต้นแปะก๊วยไปปลูกในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี และทวีปยุโรป ปัจจุบันต้นแปะก๊วยเป็นต้นไม้ให้ความร่มเงาตามแถวถนนและสวนสาธารณะทั่วไปทั่งในยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ginkgo biloba
ชื่อสามัญ Salisburya adiantifolia, Maidenhair tree, Forty-coin tree, Pai Kuo Yeh
ชื่อวงศ์ Ginkgoaceae
ลักษณะทั่วไปของ “แปะก๊วย”
ต้นแปะก๊วยเป็นไม้ยื่นต้นขนาดใหญ่ เป็นใบเดียว ลักษณะคล้ายกับใบบัวบกก้านใบยาว ใบแก่มีรอยหยักเว้าตรงกลาง ใบออกเวียนสลับกัน ใบอ่อนเป็นสีเขียว สามารถเปลี่ยนเป็นสีเข้มได้เมื่อโตเต็มที่ และเป็นสีเหลืองในฤดูใบไม้ร่วง
แปะก๊วยเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุด อาจมีอยู่ในโลกมาแล้วกว่า 200 ล้านปี เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Ginkgoaceae ซึ่งจัดเป็นสกุลพืชที่มีอายุมากที่สุดของพืชมีเมล็ดทั้งหมด ลักษณะเป็นไม้ผลัดใบยืนต้น สูง 30-40 เมตร ใบออกจากปลายกิ่งสั้น ๆ รูปร่างคล้ายพัดจีน ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ จะให้ผลเมื่อมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ผลมีลักษณะกลมรี มีสีเหลือง ชั้นนอกหุ้มด้วยเนื้อไม้และมีกลิ่นฉุน ภายในมีเมล็ดรูปกลมรี มีเปลือกแข็งหุ้ม เนื้อในเมล็ดมีสีเหลืองอ่อน หลังจากผสมเกสรต้องใช้เวลาถึง 130-140 วัน จึงจะสุกและรับประทานได้ แปะก๊วยเป็นไม้ที่ไม่ค่อยมีศัตรูมารบกวน ต้านทานลมพายุ ทนต่อมลพิษหลายชนิด
ใบใช้เพื่อรักษาภาวะผิดปกติทางสมองอย่างโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) นอกจากนี้แปะก๊วยยังใช้รักษาภาวะสูญเสียความทรงจำ วิงเวียน ตั้งสมาธิลำบาก และอารมณ์แปรปรวน บางคนใช้ใบแปะก๊วยรักษาอาการปวดขาขณะเดินเนื่องจากการไหลเวียนโลหิตไม่ดี (Claudication) แต่ยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดในเรื่องดังกล่าว
สรรพคุณของมีมากมายเนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานาน เช่น มีข้อมูลการใช้แปะก๊วยในการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก ควบคู่กับการใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรคหอบหืด (Asthma) ในอุตสาหกรรม มีการใช้สารสกัดใบแปะก๊วยเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและในอาหาร
ประโยชน์และสรรพคุณของ “ใบแปะก๊วย”
ตามตำราแพทย์แผนจีนกล่าวว่า ทั้งใบและผลของแปะก๊วยมีสรรพคุณทางยา โดยผลจะมีรสหวาน ขมและฝาดเล็กน้อย ส่วนใบจะขมและฝาดมากกว่า
-
- สารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นเลิศ
- สามารถชะลอความแก่ได้
- ลดความดันโลหิต
- ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ดี ทำให้มีก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง หัวใจ และอวัยวะต่าง ๆ ตามร่างกาย
- บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ ช่วยให้ความจำดีขึ้น
มีการวิจัยหลายชิ้นพบว่า สารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น โดยเฉพาะระบบไหลเวียนเลือดในสมอง ซึ่งส่งผลดีต่อการช่วยปกป้องการสูญเสียความทรงจำ รวมทั้งบำรุงความจำ สร้างเสริมกระบวนการการคิด และช่วยบรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ก็ยังมีผลวิจัยบางส่วนที่แย้งข้อมูลข้างต้น โดยชี้ว่า “ใบแปะก๊วย” อาจไม่มีความสามารถในการป้องกันอาการอัลไซเมอร์ หรือเพิ่มประสิทธิภาพความจำได้ ส่วนงานวิจัยที่ระบุว่า “ใบแปะก๊วย” ให้ผลดีต่อสมอง ก็ยังมีข้อมูลไม่มากนัก ฉะนั้นแล้ว จึงยังไม่มีสถาบันใดออกมายืนยันชัดเจนถึงสรรพคุณข้อนี้ของ “ใบแปะก๊วย”
มีการศึกษาพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากใบแปะก๊วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งก็มีจิตแพทย์จำนวนไม่น้อยที่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ แต่สารสกัดนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าหากใช้กับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี จะให้ผลดีเทียบเท่ากับผู้ป่วยในวัยสูงอายุหรือไม่
-
- ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
เมล็ดแปะก๊วยเป็นแหล่งสะสมของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย ป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ในร่างกายจากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด ถึงแม้ว่าจะนำเมล็ดแปะก๊วยไปปรุงจนสุกแล้วก็ยังคงมีสารต้านอนุมูลอิสระเหลืออยู่ถึง 60% ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับอาหารชนิดอื่น ๆ
-
- ฤทธิ์เพิ่มการมองเห็น
- สารสกัดจากใบแปะก๊วย ยังช่วยป้องกันและรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมได้
- สามารถช่วยป้องกันโรคเบาหวานขึ้นตาได้
- สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด การรับประทานใบแปะก๊วยจะช่วยป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมได้
- ฤทธิ์ยับยั้งการเสื่อมของสมอง
- เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ
ในรายที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถช่วยได้ เพราะ สารสกัดนี้จะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น แก้ไขปัญหาเลือดไปไหลเวียนในบริเวณอวัยวะเพศไม่สะดวก โดยจากการศึกษาหนึ่งพบว่าการรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยเป็นประจำติดต่อกัน 6 เดือน ช่วยให้อาการดีขึ้นมากถึง 50%
-
- บรรเทาอาหารของโรคพาร์กินสัน
ภาวะการขาดฮอร์โมนโดปามีน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการสั่นและการสูญเสียความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากโรคพาร์กินสันแต่สารสกัดจากแปะก๊วยนั้นจะเข้าไปช่วยเพิ่มระบบไหลเวียนเลือดในสมอง ทำให้ร่างกายสามารถผลิตฮอร์โมนโดปามีนได้มากขึ้น และนำส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างเพียงพอ
ข้อแนะนำและข้อควรระวังของการรับประทาน “ใบแปะก๊วย”
-
- สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร แปะก๊วยจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างมีครรภ์ เพราะอาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือมีเลือดออกมากระหว่างคลอดได้ หากรับประทานในเวลาใกล้เคียงกัน ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าผู้ให้นมบุตรสามารถบริโภคแปะก๊วยได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ จึงควรงดการบริโภคแปะก๊วยขณะตั้งครรภ์และต้องให้นมบุตรไปก่อน
- เด็กและทารก สารสกัดใบแปะก๊วยจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในช่วงเวลาอันสั้น บางงานวิจัยกล่าวว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบแปะก๊วยกับโสมอเมริกาอาจมีความปลอดภัยสำหรับเด็กเมื่อใช้ในระยะสั้น แต่สำหรับการบริโภคเมล็ดแปะก๊วยสดนั้นไม่ควรให้เด็กรับประทานเพราะค่อนข้างไม่ปลอดภัย เอาจทำให้เด็กมีอาการชักและเสียชีวิตได้
- ภาวะเลือดออกผิดปกติ แปะก๊วยอาจทำให้ภาวะเลือดออกผิดปกติทรุดลงได้ ดังนั้นผู้ป่วยภาวะนี้ควรงดการใช้แปะก๊วย
- เบาหวาน แปะก๊วยอาจรบกวนการควบคุมเบาหวานของผู้ป่วย ดังนั้นหากผู้ป่วยเบาหวานต้องการบริโภคแปะก๊วย ควรเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
- ชัก ขณะนี้มีข้อกังวลว่าแปะก๊วยอาจทำให้เกิดอาการชักได้ หากคุณเคยประสบกับอาการชักมาก่อนควรงดใช้แปะก๊วย
- โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (Deficiency of the enzyme glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PD) ) แปะก๊วยอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางรุนแรงในผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ G6PD ซึ่งจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ป่วยภาวะนี้ควรเลี่ยงการใช้แปะก๊วยอย่างระมัดระวัง
- ภาวะมีบุตรยาก แปะก๊วยอาจทำให้ตั้งครรภ์ยากขึ้น ดังนั้นควรปรึกษาการใช้แปะก๊วยกับผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่คุณกำลังพยายามมีบุตร
- ผู้รับการผ่าตัด แปะก๊วยอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือดขึ้นซึ่งจะทำให้มีเลือดออกมากระหว่างและหลังการผ่าตัด ดังนั้นควรหยุดใช้แปะก๊วยก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- ผู้ที่รับประทานยาหรืออาหารเสริมเป็นประจำ รวมถึงอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy: ECT) เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ หากรับประทานแปะก๊วยร่วมกับการใช้ยาดังต่อไปนี้
- ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
- ยาในกลุ่มเอ็นเสด
- ยาต้านเกล็ดเลือด
- ยากันชัก
- ยารักษาอาการซึมเศร้า
- ยารักษาโรคเบาหวาน
- ยาที่ส่งผลต่อตับ
- สมุนไพร เช่น กระเทียม ซอว์พาเมตโต เซนต์จอห์นวอร์ต เป็นต้น
Becoplus (บีโคพลัส) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร บำรุงสมอง ที่มีส่วนผสมของ “ใบแปะก๊วย”
Becoplus อาหารเสริมเพิ่มพลังสมองที่ดูแลคุณและครอบครัว ทั้งวัยรุ่นวัยเรียน วัยทำงาน จนถึงผู้สูงวัย ช่วยเรื่องการนอนหลับ บำรุงสมอง บำรุงระบบประสาท ช่วยเสริมความจำและสมาธิ ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติแท้ 100% ที่เราคัดสรรมาเพื่อคุณ
-
- สารสกัดจากพรมมิ : เสริมความจำ เพิ่มสมาธิและการตื่นตัว
- ใบแปะก๊วย : บำรุงสมอง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ และช่วยให้สมองได้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ
- ผงเชอร์รี่ทาร์ต : ช่วยปรับสมดุลการนอน ทำให้หลับสบายลดความเครียด ช่วยบำรุงผิวพรรณและชะลอความเสื่อมของผิวหนัง
- เก๋ากี้ : บำรุงสายตา ลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันไขมันพอกตับแถมเป็นยาอายุวัฒนะ