fbpx Skip to content

เครียด หรือ ซึมเศร้า ตกลงเราเป็นอะไรกันแน่

เครียดหรือซึมเศร้า

เพื่อน ๆ เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราแค่เครียดหรือมีภาวะเป็น ซึมเศร้า กันแน่ น่าสงสัยใช่ไหมล่ะ

เชื่อว่าใครหลาย ๆ คน อาจสงสัยอยู่ว่า อาการที่เราเป็นอยู่ในช่วงนี้เข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ วันนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุ อาการและการรักษาของโรคซึมเศร้ากัน มาลองเช็คกันว่าคุณเข้าข่ายมากน้อยแค่ไหน

มารู้จักความเครียดกัน

เครียดหรือซึมเศร้า

ถ้าพูดถึง ความเครียด (Stress) คงไม่มีใครไม่รู้จักหรือไม่เคยเป็น เพราะความเครียดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เกิดจากภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากเหตุการณ์ที่เลวร้ายหรือร้ายแรงมาก ๆ ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายและจิตใจ ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดได้ง่าย จะเกิดอาการเครียดจนทำให้มีอาการต่าง ๆ ตามมา

อาการโดยทั่วไปของคนที่มีความเครียด

    • นอนไม่หลับ 

เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรงมาก ๆ มากระทบจิตใจเรา ในบางครั้งเราก็อาจจะเก็บเอาไปคิดหรือไปฝัน ทำห้เราเกิดอาการนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิทได้

    • รู้สึกเกินจะทนไหว 

เมื่อต้องแบกรับกับเหตุการณ์ที่รุนแรงมาก ๆ แบบที่หาทางออกไม่ได้ ก็จะทำให้เรารู้สึกว่าแบกรับมันต่อไปไม่ไหวแล้ว

    • มีปัญหาเรื่องความจำ 

พอเกิดความเครียดมาก ๆ เข้า แน่นอนว่ามันจะต้องกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การนึกคิดต่าง ๆ โดยเฉพาะกับสมองหรือระบบความจำ บางครั้งความเครียดก็ทำให้เรามีอาการหลงลืมได้เช่นกัน

    • โฟกัสอะไรไม่ค่อยได้ สมาธิสั้น

เมื่อสมองมันคิดถึงแต่เรื่องซ้ำ ๆ เหตุการณ์ร้ายแรงเดิม ๆ ตลอดเวลา ก็จะทำให้เราไม่มีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่าใจลอย เหม่อ อาจบานปลายจนถึงขั้นทำให้เราสมาธิสั้นเลยก็ได้

    • พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป

ความเครียดส่งผลต่อการกิน แน่นอนว่าพอเกิดความเครียด บางคนกินไม่ได้นอนไม่หลับ หรือบางคนกินมากกว่าเดิม เพราะต้องการลืมเรื่องร้าย ๆ ที่เจอมา

    • รู้สึกกังวล ประสาทเสีย กระสับกระส่าย

พอมีความเครียดก็เหมือนสมองต้องคิด ต้องทำงานตลอดเวลา เกิดความกังวล สลัดเรื่องนั้นออกจากหัวไม่ได้สักที ส่งผลต่อสมองและร่างกายของเรา

    • โกรธและโมโหง่าย

ความเครียดมักส่งผลต่ออารมณ์ของเราเสมอ โดยเฉพาะเมื่อเราสะสมเรื่องเครียด ๆ ไว้เยอะ ๆ จนทนไม่ไหว อาจจะระเบิดออกมาเป็นอารมณ์ในแง่ลบ เช่นอารมณ์โกรธหรือโมโหได้ง่าย ๆ

    • รู้สึกหมดแรง

อย่างที่บอกว่าความเครียดส่งผลกับอารมณ์และพฤติกรรมของเรา บางคนเครียดแล้วกินเยอะ บางคนกินน้อยหรือไม่อยากอาหารเลย แต่ในบางคนก็จะมีความรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร รู้สึกหมดแรงไปดื้อ ๆ หรืออาจกลายเป็นคนที่ดูไม่มีชีวิตชีวาเลย

    • รู้สึกว่าเราผ่านอะไรยาก ๆ ในชีวิตไม่ไหวแล้ว

พอเจอเรื่องร้าย ๆ มาเยอะจนทนไม่ไหวหรือไม่อยากสู้กับมันแล้ว สมองอาจสั่งให้เรายอมแพ้กับเรื่องตรงหน้า และปิดกั้นตัวเองจากเรื่องต่าง ๆ 

    • ส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิต

ในคนทำงาน ความเครียดก็จะส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิต เช่นเดียวกับวัยรุ่นที่ความเครียดก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้และการจดจำ ยิ่งเรียนหนักก็ยิ่งเครียด ควรหาเวลาผ่อนคลายสมองและร่างกายบ้าง อย่าให้ความเครียดปกคลุมคุณไว้ จนกลายเป็นคนที่หน้าอมทุกข์ตลอดเวลา

การรักษาโรคเครียด

วิธีรักษาโรคเครียดคือการรับมืออาการของโรคที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ผู้ที่มีความเครียดควรเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว และพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนเพื่อระบายความเครียด แต่หากเกิดอาการรุนแรงหรือเกิดความเครียดเรื้อรัง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

ภาวะ ซึมเศร้า ใกล้ตัวกว่าที่คิด

เครียดหรือซึมเศร้า

ปัจจุบันเรามักได้ยินคำว่า ซึมเศร้า (Depression) กันอยู่บ่อย ๆ คนส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสีย มากกว่าที่จะเป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งทุกคนต่างเคยรู้สึกเครียด รู้สึกผิดหวังหรือมีอารมณ์เศร้าหมองกันทั้งนั้น เมื่อเผชิญกับความสูญเสีย เรื่องเลวร้าย หรือปัญหาในชีวิตที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องปกติหากเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่ถ้าความเครียดและความเศร้าเหล่านี้ดำเนินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต นี่แหละอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคน ๆ นั้นกำลังเป็นโรคซึมเศร้า

ซึมเศร้า เป็นภาวะที่เกิดขึ้นระยะยาวต่างจากความเครียด ปกติแล้วผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการอื่น ๆ เป็นหลัก และจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือกิจวัตรประจำวันของคน ๆ นั้น เช่น คนที่ต้องออกไปทำงานข้างนอกอาจมีการขาดงานบ่อย ๆ หรือทำงานผิดพลาด ไม่มีสมาธิกับงานตรงหน้า ทำงานออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือไม่อยากทำงานอีกเลย ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าเป็นคนอ่อนแอ หรือไม่สู้ปัญหา แต่มันเป็นเพราะตัวโรคนี้ที่ทำให้เค้ามีอาการเหล่านั้น หากได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและเหมาะสม ก็จะทำให้อาการดีขึ้นหรือหายขาดได้

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้านั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยเดียว แต่เกิดขึ้นจากหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน เช่น กรรมพันธุ์ ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง รวมถึงลักษณะนิสัยที่บางคนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้าอยู่แล้ว

โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อาจมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือน ๆ หรืออาจเป็นภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น บุคลิกเดิมของผู้ป่วย เหตุการณ์ที่เจอมารุนแรงมากน้อยเพียงใด เป็นต้น

อาการของโรคซึมเศร้า

    • เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม
    • รู้สึกเศร้าและสิ้นหวัง
    • หมดพลัง ไร้แรงบันดาลใจจะทำอะไร
    • ทำสิ่งที่ชอบทำมาตลอดไม่ได้
    • ชอบตัดสินใจอะไรแย่ ๆ
    • นอนไม่พอ เหนื่อยตลอดเวลา ไม่ค่อยมีแรง
    • กินมากหรือน้อยกว่าปกติ
    • นอนมากหรือน้อยกว่าปกติ
    • โฟกัสกับอะไรไม่ได้
    • มีปัญหากับความทรงจำ
    • รู้สึกแย่กับตัวเอง รู้สึกผิดตลอดเวลา รู้สึกทำให้ตนเองและครอบครัวผิดหวัง
    • ไม่เห็นค่าของตัวเอง
    • ก้าวร้าว
    • รู้สึกว่าไม่สามารถผ่านเรื่องราวอะไรยาก ๆ ในชีวิตได้ ยอมแพ้กับชีวิต
    • มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
    • อยากฆ่าตัวตาย

การรักษาโรคซึมเศร้า

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาด้วยยาหลายชนิด และการรักษาทางจิตใจ โดยแต่ละคนจะตอบสนองต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน การรักษาด้วยยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นได้เร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมีภูมิคุ้มกัน ที่จะสามารถต่อสู้กับปัญหาที่เข้ามาได้ดีกว่าเดิม และการรักษาโรคซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องมานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอาการของโรคว่ามีอันตรายมากน้อยแค่ไหน หากผู้ป่วยมีอาการที่พยายามจะฆ่าตัวตาย หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาใด ๆ เลย อาจจะต้องเข้ามานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อใกล้ชิดกับแพทย์และทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด

Becoplus ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่คนรุ่นใหม่เลือกทาน

บีโคพลัสดียังไง

ปัจจุบันการเลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสักตัว คนส่วนใหญ่คงไม่ได้ดูแค่ยี่ห้อหรือว่าได้มาตรฐานหรือไม่ แต่ยังดูไปถึงคุณสมบัติของส่วนผสมที่ใส่ลงมาด้วย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทที่ควรจะต้องได้มาตรฐานรวมถึงต้องเป็นสมุนไพรหรือสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีเจือปน เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเราแล้ว อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Becoplus (บีโคพลัส) ที่มั่นใจได้ด้วยการรับรองมาตรฐานอย. ตัวแคปซูลผลิตจากพืช และสารสกัดธรรมชาติกว่า 11 ชนิดที่อัดแน่นไปด้วยคุณประโยชน์และมีงานวิจัยรองรับมากมาย Becoplus เหมาะกับผู้ที่ทำงานหนัก ใช้สมองเยอะ เพราะเค้าช่วยบำรุงสมอง ปรับสมดุลการนอนหลับ ให้เราได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้สมองผ่อนคลาย ช่วยคลายกังวลซึ่งเป็น 1 สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามเราได้ที่ Facebook Fan page : Becoplus

บทความที่เกี่ยวข้อง