fbpx Skip to content

เครียดสะสม นอนไม่หลับ เสี่ยงภาวะ ต่อมหมวกไตล้า

เครียดสะสม นอนไม่หลับ เสี่ยงภาวะ ต่อมหมวกไตล้า

เจอเรื่องเครียด ๆ มาทั้งวัน ไม่ว่าจะความเครียดจากการทำงาน การเรียน หรือการใช้ชีวิต เมื่อไม่สามารถกำจัดความเครียดเหล่านั้นให้หายไปได้ ก็จะเกิดการสะสม จนนาน ๆ เข้าอาจทำให้คุณกลายเป็นโรค ต่อมหมวกไตล้า โดยไม่รู้ตัวก็ได้

ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพื่อน ๆ อาจจะเคยได้ยินชื่อของโรคต่อมหมวกไตล้าอยู่บ่อย ๆ ถือเป็นโรคยอดฮิตที่หลาย ๆ คนเป็นกัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนเหล่านั้นเค้าจะอยากให้เกิดโรคนี้ขึ้นกับตัวเอง เพราะไม่ว่าจะเป็นโรคไหน ๆ หนักหรือเบา แต่ขึ้นชื่อว่าโรคล้วนอันตรายทั้งนั้น และการเป็นโรคต่อมหมวกไตล้า ก็ไม่ได้เกิดจากความเครียดเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ หรือตัวกระตุ้นอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้

โรคต่อมหมวกไตล้าคืออะไร ใครที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคนี้บ้าง ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดโรคนี้ แล้วเราจะมีวิธีป้องกันหรือรักษาโรคนี้ได้อย่างไร มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

เครียดสะสม นอนไม่หลับ เสี่ยงภาวะ ต่อมหมวกไตล้า

เสพติดความเครียด นอนไม่พอ จนกลายเป็น ต่อมหมวกไตล้า

มาทำความรู้จักกับอวัยวะที่ชื่อว่าต่อมหมวกไต และโรคต่อมหมวกไตล้า กันดีกว่าค่ะ

ต่อมหมวกไต คืออะไร

ต่อมหมวกไต เป็นต่อมเล็ก ๆ ที่อยู่บริเวณเหนือไตทั้งสองข้าง ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือด และยังมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญ อย่าง คอร์ติซอล (Cortisol) เพื่อมารับมือกับความเครียด ซึ่งหากปล่อยให้ร่างกายเสพติดความเครียด เกิดความเครียดสะสมนาน ๆ เข้า ก็จะทำให้เกิด ภาวะต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatigue) นั้นเอง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดสะสม

-นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หลับไม่สนิท

-ใช้ร่างกายมากเกินไป ไม่หาเวลาผ่อนคลาย

-มีเรื่องให้คิดมาก และจมอยู่กับเรื่องเดิม ๆ ที่ทำให้เครียดตลอดเวลา

Check List คุณมีความเสี่ยงเป็น ต่อมหมวกไตล้า มากน้อยแค่ไหน

เครียดสะสม นอนไม่หลับ เสี่ยงภาวะ ต่อมหมวกไตล้า

มาลองเช็คกันว่า คุณมีอาการตามด้านล่างนี้อย่างน้อย 5 ข้อหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าคุณอาจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น ต่อมหมวกไตล้า อยู่นะคะ

    • ขี้เกียจตื่นนอนในตอนเช้า และตื่นนอนมาแบบไม่สดชื่น
    • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 
    • อยากงีบหลับช่วงกลางวัน
    • ช่วงเย็นกระปรี้กระเปร่า ตาสว่าง และเริ่มง่วงหลังตี 2
    • ถ้าได้ทานของหวานหรือของเค็มจะมีแรงและรู้สึกดี
    • มีอาการหน้ามืดเมื่อลุก นั่งหรือเปลี่ยนท่าทาง
    • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
    • ปวดประจำเดือนบ่อย
    • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
    • ภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ
    • เครียด มีความกังวล ซึมเศร้า หรือไม่ค่อยสนุกกับสิ่งรอบตัว
    • นอนพักผ่อนเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ
    • หงุดหงิดง่าย โมโหกับเรื่องเล็กน้อย
    • ความจำลดลง ขี้หลงขี้ลืมกับเรื่องที่ไม่ค่อยลืม
    • ผิวแห้ง แพ้ง่าย

ป้องกันและรักษา ต่อมหมวกไตล้า ก่อนสายเกินแก้

เครียดสะสม นอนไม่หลับ เสี่ยงภาวะ ต่อมหมวกไตล้า

    • ปรับสมดุลการนอน นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง และควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม
    • ควรทานอาหารเช้าก่อน 10 โมง เพราะหลังจากนั้นระดับ Cortisol จะลดลง ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย
    • ทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ และบ่อย ๆ แทนการทานอาหารมื้อหลักเพียง 1-2 มื้อ
    • ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไป เพราะจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น ควรออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง (Moderate Intensity Exercise) แทน
    • ผ่อนคลายความเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ เดินทางไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ
    • ทานอาหารเสริมที่ช่วยคลายความกังวล ลดความเครียด และช่วยปรับสมดุลการนอนหลับ อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบีโคพลัส (Becoplus) ที่สกัดจากสมุนไพร 100% กว่า 11 ชนิด เช่น พรมมิ เก๋ากี้ ใบแปะก๊วย L-theanine ช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำ ป้องกันอัลไซเมอร์ คลายความกังวลทำให้นอนหลับง่ายขึ้น
    • ทานอาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิดที่สามารถช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้ เช่น Ashwaghandha (โสมอินเดีย) L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว) Phosphatidylserine (สารสกัดจากถั่วเหลือง) วิตามิน C วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6
    • ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทหวานและเค็ม

ง่าย ๆ เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถป้องกันการเกิดโรคต่อมหมวกไตล้าได้ ลองไปปรับใช้กันดูนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง